วันอังคารที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2557

การวิเคราะห์ Suppliers

การวิเคราะห์ Suppliers เราต้องคำนึงถึงปัจจัย ดังต่อไปนี้
    
การวิเคราะห์ด้านการเงิน
    
     Suppliers ที่มีฐานะทางการเงินที่เข้มแข็งแสดงถึงความสามารถในการจัดการ การจัดการที่มีประสิทธิภาพบริษัทก็จะมีกำไร Supplierที่มีกำไรเช่นนี้สามารถลงทุนด้านต่างๆได้

การวิเคราะห์ด้านการผลิต

     เป็นการวิเคราะห์ด้านการผลิตของ Suppliers ครอบคลุมขีดความสามารถด้านคุณภาพ กำลังการผลิต ความยืดหยุ่นในการผลิตและสภาพของโรงงาน


การวิเคราะห์ขีดความสามารถด้านคุณภาพ 
     
     เลือก Suppliers ที่ให้ความสำคัญกับคุณภาพวัสดุ Suppliersที่เน้นการพัฒนาเทคโนโลยีและกระบวนการผลิตเป็นหลักประกันว่าวัสดุที่ผลิตจะมีคุณภาพทั้งในปัจจุบันและอนาคต

การวิเคราะห์กำลังการผลิต

     Suppliers ที่มีความสามารถขยายกำลังการผลิตวัสดุก็จะทำให้บริษัทสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ ซึ่งมีความสำคัญกับภาวะธุรกิจที่มีการแข่งขันรุนแรง

การวิเคราะห์ความสามารถการให้บริการ

     Suppliers ที่สามารถให้บริการระดับสูงก็จะทำให้บริษัทสามารถให้บริการลูกค้าในระดับสูงได้ การให้บริการของSuppliers เช่น การส่งวัสดุที่รวดเร็วและเชื่อถือได้ ส่งมอบวัสดุถูกต้องครบถ้วนและในสภาพที่สมบูรณ์ เป็นต้น

การวิเคราะห์ขีดความสามารถเทคโนโลยีสารสนเทศ

     Suppliers ที่มีระบบสื่อสารที่ทันสมัยเชื่อมโยงกับบริษัทจะลดวงจรเวลาสั่งซื้อ ลดความผิดพลาดการส่งวัสดุผิดและเอื้ออำนวยต่อการประสานงานในระบบSupply Chain Suppliers ที่มีความกระตือรือร้นปรับปรุงระบบสารสนเทศจะได้เปรียบทางการแข่งขันซึ่งเป็นผลดีต่อบริษัท

ความหมายบรรจุภัณฑ์ทางด้านโลจิสติกส์

         มีความหมายและความสำคัญแตกต่างกัน ในทางธุรกิจบรรจุภัณฑ์เกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย ฝ่ายการตลาดจะมองว่าบรรจุภัณฑ์เป็นสิ่งดึงดูดความสนใจของลูกค้าและทำให้สินค้าขายได้
         
         บรรจุภัณฑ์เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์จะมองบรรจุภัณฑ์ว่าเป็นการปกป้องสินค้า การยกขน การขนส่ง การเก็บรักษา แต่ละเรื่องมีผลต่อต้นทุนโลจิสติกส์
วัตถุประสงค์บรรจุภัณฑ์ทางด้านโลจิสติกส์
1.เพื่อปกป้องสินค้า

2.เพื่อการเก็บรักษา
3.เพื่อการยกขน
4.เพื่อป้องกันความเสียหายจากอุณหภูมิ
5.เพื่อป้องกันความเสียหายจากน้ำ
6.เพื่อป้องกันสารแปลกปลอม

วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

ปัจจัยในการเลือกทำเลที่

ปัจจัยในการเลือกทำเลที่

การเลือกทำเลที่ตั้งควรพิจารณาปัจจัยหลายปัจจัยประกอบกันมากกว่ามุ่งเน้นแต่ปัจจัยเดียวเพราะต้นทุนที่ต่ำในทางหนึ่งอาจจะไม่ได้ทำให้ต้นทุนรวมต่ำสุดก็ได้ อย่างไรก็ดีปัจจัยที่จะใช้พิจารณาควรเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานธุรกิจ กล่าวคือ ถ้าดำเนินกิจการคลังสินค้าชิ้นส่วนยานยนต์ ควรอยู่ในภาคตะวันออก เช่นระยอง เพราะใกล้โรงงานผลิตรถยนต์ ซึ่งงานคลังสินค้าเกี่ยวกับอุตสาหกรรมหนัก และเบา การบริการซึ่งรวมถึงการค้าปลีก ศูนย์กระจายสินค้า ศูนย์โลจิสติกส์

การเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้าจะต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการดำเนินกิจการคลังสินค้าไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ปัจจัยต่าง ๆที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้า คือ

- แหล่งสินค้า
การประกอบกิจการคลังสินค้าเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสินค้าเจ้าของสินค้าคือลูกค้าของคลังสินค้าโดยสภาพของวงจรของสินค้าแล้ว สินค้ามาจากผู้ผลิตผ่านคลังสินค้าไปยังตลาดจำหน่าย เจ้าของสินค้าคือผู้ถือกรรมสิทธิ์ในสินค้านั้นจึงได้แก่ผู้ผลิต และผู้จำหน่ายในขั้นตอนต่าง ๆ เจ้าของสินค้าเป็นผู้จ่ายบำเหน็จค่าบริการให้แก่คลังสินค้า แหล่งสินค้าจึงอาจเป็นได้ทั้งโรงงานผลิตสินค้า ท่าเรือนำสินค้าเข้าตลาดจำหน่ายสินค้าและท่าเรือส่งออก การเดินทางของสินค้าจากโรงงานผลิตสินค้า หรือจากท่าเรือน้ำเข้ามายังคลังสินค้า และจากคลังสินค้าไปยังตลาดจำหน่าย หรือเพื่อส่งออก ต้องเสียค่าขนส่งซึ่งเจ้าของสินค้าเป็นผู้จ่ายค่าใช้จ่ายในการขนส่งที่ประหยัดที่สุดเป็นสิ่งพึงประสงค์ของเจ้าของสินค้า ดังนั้นทำเลที่ตั้งคลังสินค้าที่พึงประสงค์ คือตำแหน่งที่อยู่ใกล้กับแหล่งสินค้ามากที่สุด ซึ่งจะทำให้เจ้าของสินค้าเสียค่าใช้จ่ายในการขนส่งน้อยที่สุด และยังเป็นการสะดวกแก่คลังสินค้าในการติดต่อธุรกิจอีกด้วย แหล่งสินค้าย่อยมีหลายแห่ง แต่ละแห่งมีปริมาณสินค้าที่ใช้บริการของคลังสินค้าในปริมาณมากน้อยต่างกัน ทำเลที่ตั้งคลังสินค้าที่เหมาะสมคืออยู่ในย่านกลางเฉลี่ยของแหล่งสินค้าทั้งปวงที่เป็นลูกค้า และเพ่งเล็งแหล่งที่มีปริมาณสินค้ามาก ๆเป็นสำคัญ โดยมีเป้าหมายว่าให้มีลูกค้ามาใช้บริการของคลังสินค้ามากที่สุด ซึ่งจะเป็นผลโดยตรงต่อรายได้ของกิจการคลังสินค้า

- เส้นทางคมนาคม
การประกอบกิจการคลังสินค้าเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสินค้าเจ้าของสินค้าคือลูกค้าของคลังสินค้าโดยสภาพของวงจรของสินค้าแล้ว สินค้ามาจากผู้ผลิตผ่านคลังสินค้าไปยังตลาดจำหน่าย เจ้าของสินค้าคือผู้ถือกรรมสิทธิ์ในสินค้านั้นจึงได้แก่ผู้ผลิต และผู้จำหน่ายในขั้นตอนต่าง ๆ เจ้าของสินค้าเป็นผู้จ่ายบำเหน็จค่าบริการให้แก่คลังสินค้า แหล่งสินค้าจึงอาจเป็นได้ทั้งโรงงานผลิตสินค้า ท่าเรือนำสินค้าเข้าตลาดจำหน่ายสินค้าและท่าเรือส่งออก การเดินทางของสินค้าจากโรงงานผลิตสินค้า หรือจากท่าเรือน้ำเข้ามายังคลังสินค้า และจากคลังสินค้าไปยังตลาดจำหน่าย หรือเพื่อส่งออก ต้องเสียค่าขนส่งซึ่งเจ้าของสินค้าเป็นผู้จ่ายค่าใช้จ่ายในการขนส่งที่ประหยัดที่สุดเป็นสิ่งพึงประสงค์ของเจ้าของสินค้า ดังนั้นทำเลที่ตั้งคลังสินค้าที่พึงประสงค์ คือตำแหน่งที่อยู่ใกล้กับแหล่งสินค้ามากที่สุด ซึ่งจะทำให้เจ้าของสินค้าเสียค่าใช้จ่ายในการขนส่งน้อยที่สุด และยังเป็นการสะดวกแก่คลังสินค้าในการติดต่อธุรกิจอีกด้วย แหล่งสินค้าย่อยมีหลายแห่ง แต่ละแห่งมีปริมาณสินค้าที่ใช้บริการของคลังสินค้าในปริมาณมากน้อยต่างกัน ทำเลที่ตั้งคลังสินค้าที่เหมาะสมคืออยู่ในย่านกลางเฉลี่ยของแหล่งสินค้าทั้งปวงที่เป็นลูกค้า และเพ่งเล็งแหล่งที่มีปริมาณสินค้ามาก ๆเป็นสำคัญ โดยมีเป้าหมายว่าให้มีลูกค้ามาใช้บริการของคลังสินค้ามากที่สุด ซึ่งจะเป็นผลโดยตรงต่อรายได้ของกิจการคลังสินค้า

- เส้นทางคมนาคม
ทำเลที่ตั้งคลังสินค้าต้องมีเส้นทางคมนาคมเข้าถึงได้ โดยสะดวกเส้นทางคมนาคมเหล่านั้นต้องมีสภาพดี ใช้ได้ทุกฤดูกาล ทุกสภาพอากาศ เพราะการเดินทางของสินค้าจากแหล่งสินค้ามาสู่คลังสินค้า และจากคลังสินค้าไปสู่ตลาด ต้องกระทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือความรวดเร็ว ในปริมาณมากด้วยเพื่อค่าขนส่งที่ประหยัด การขนส่งสินค้าอาจกระทำได้โดยทางถนน ทางรถไฟ ทางน้ำ ทางอากาศหรือแม้แต่ทางท่อ การขนส่งทางน้ำเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดและได้ปริมาณมากที่สุด รองลงไปคือการขนส่งทางรถไฟ แต่การขนส่งทางถนนโดยรถยนต์บรรทุกเป็นการกระจายสินค้าได้ดีที่สุด เพราะมีเครือข่ายเชื่อมโยงถึงกันไปทั่วประเทศ นับได้ว่าเป็นเส้นทางหลักสำหรับการขนส่งสินค้าภายในประเทศ ส่วนการขนส่งสินค้าทางอากาศนั้นแพงที่สุดและขนได้ในปริมาณที่จำกัด มีข้อดีคือความรวดเร็ว การขนส่งทางอากาศสำหรับสินค้าทั่วไปยังไม่เป็นที่นิยม ดังนั้นสำหรับการขนส่งส่งทางอากาศและทางท่อไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงหรือให้ความสำคัญในการเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้ามากนัก ทำเลที่ตั้งคลังสินค้าที่พึงประสงค์ควรมีเส้นทางขนส่งสามารถเข้าถึงได้หลายประเภทมากที่สุด อย่างน้อยควรจะมีทางถนนเป็นหลักเสริมด้วยทางน้ำและทางรถไฟอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง

- แหล่งแรงงาน
ทำเลที่ตั้งของธุรกิจควรอยู่ในสภาพแวดล้อมของชุมชนที่มีทัศนคติที่ดีต่อธุรกิจประเภทนั้น เพื่อที่จะได้รับการยอมรับและการสนับสนุนจากชุมชนที่อยู่รอบข้างทำเลที่ตั้งนั้น ถ้าชุมชนเห็นว่ากิจการคลังสินค้าเป็นธุรกิจที่มีความชอบธรรม ไม่เอารัดเอาเปรียบ ชุมชนก็จะให้ความนิยมชมชอบ ให้ความสนใจในการดำเนินงาน มีการมาสมัครเข้าทำงานมีการตั้งร้านค้าขายของใช้ที่จำเป็นให้แก่พนักงานของคลังสินค้ามีการร่วมมือในกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ กิจการคลังสินค้าก็สามารถจะดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง หากทำเลที่ตั้งคลังสินค้าตั้งอยู่ท่ามกลางชุมชนที่มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อธุรกิจ โดยเห็นไปว่าคลังสินค้าเป็นธุรกิจที่เอาเปรียบไม่ชอบธรรม ไม่เกื้อกูลต่อประโยชน์ของชุมชน ก็จะเกิดความขัดแย้งระหว่างคลังสินค้ากับชุมชน และอาจได้รับการกลั่นแกล้งนานาประการอันเป็นความเสียหายแก่การดำเนินธุรกิจกรณีเช่นนี้คลังสินค้าก็อยู่ไม่ได้ ดังนั้นในการเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้า จึงควรคำนึงถึงทัศนคติของชุมชนที่อยู่รอบข้างทำเลนั้นด้วย

- บริการสาธารณะ
ทำเลที่ตั้งคลังสินค้าควรอยู่ใกล้สิ่งอำนวยความสะดวกในการบริการสาธารณะของรัฐที่จัดให้แก่สังคม เช่นสถานีตำรวจ สถานีดับเพลิง สถาบันการศึกษาสถานพยาบาล เพื่อจะได้รับความสะดวกในการใช้บริการเหล่านั้น โดยคลังสินค้าไม่ต้องจัดขึ้นมาเอง ทำให้ประหยัดต้นทุนลงได้

- สิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมของธุรกิจที่มีความสำคัญมากก็คือ อากาศและน้ำที่สำคัญรองลงไปก็คือ อุณหภูมิ แสง เสียง ทำเลที่ตั้งคลังสินค้าที่เหมาะสมควรอยู่ในทำเลที่ตั้ง อากาศดี มีระบายน้ำสะดวก มีอุณหภูมิ แสง เสียง พอเหมาะ หากคลังสินค้าตั้งอยู่ในทำเลที่มีควันพิษมีน้ำเน่าส่งกลิ่นเหม็น คละคลุ้ง อุณหภูมิสูง อับแสง อับอากาศ เต็มไปด้วยเสียงอึกทึกครึกโครมก็จะมีผลต่อสภาพจิตของคนงาน และส่งผลต่อไปถึงสภาพการทำงาน เมื่อจิตใจไม่แจ่มใสก็อาจไม่เต็มใจทำงาน เมื่อสภาพของการทำงานไม่ดีผลงานก็ตกต่ำซึ่งเป็นผลเสียหายต่อกิจการทางธุรกิจเป็นอย่างยิ่ง ฉะนั้นสิ่งแวดล้อมที่ดีจึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงในการพิจารณาเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้า

Outsourcing

Outsourcing

Outsourcing หมายถึง การจัดหาจากภายนอก เป็นวิธีการที่องค์กรธุรกิจจัดหาวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ซึ่งครั้งหนึ่งอาจจะเคยถูกดำเนินการภายในองค์กร มาเป็นการจัดหาจากแหล่งภายนอกแทน จะทำให้องค์กรเล็กลงแต่คล่องตัวขึ้น ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆลงได้ และสามารถเน้นการดำเนินการเฉพาะแต่กิจกรรมที่เป็นกิจกรรมหลักซึ่งองค์กรมีความถนัด ทำให้สามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันหรือเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันมากขึ้น
ประโยชน์ของการ Outsourcing
1. สามารถควบคุมงบประมาณได้ง่ายขึ้น เนื่องจากกิจกรรมต่างๆ ที่องค์กรเคยปฏิบัติ ได้ มอบหมายให้กับหน่วยงานที่รับ Outsource แบบเบ็ดเสร็จ ซึ่งทำให้องค์กรจัดงบประมาณได้สะดวกขึ้น โดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตามมา
2. สามารถเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันได้ ในการ Outsource นั้น ถ้าเราเลือกใช้บริการผู้ที่มีชื่อเสียงในการทำกิจกรรมนั้นๆ ก็จะส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ขององค์กร ทำให้ลูกค้ามีความเชื่อถือ และสามารถยกระดับการแข่งขันทางธุรกิจได้ เพิ่มจุดแข็งให้กับองค์กรได้ อีกทั้ง องค์กรจะมีเวลาในการทุ่มเทกับกิจกรรมหลักมากขึ้น และมีความคล่องตัวในการบริหารงานมากขึ้น เช่น การ Outsource ด้านขนส่ง จากเดิมที่องค์กรดำเนินการเอง ซึ่งต้องรับภาระในเรื่องการซ่อม การบำรุงรักษา ค่าแรงหรือแม้กระทั่งต้องมีค่าใช้จ่ายในเรื่องค่าเสื่อมราคาของรถทุกปี แล้วเปลี่ยนมาใช้การ Outsource ก็จะทำให้องค์กรหมดภาระดังกล่าวทั้งหมด
3. ลดความเสี่ยง กิจกรรมใดที่องค์กรไม่ถนัดก็ทำการ Outsource ซึ่งก็จะทำให้ลดความเสี่ยงในการบริหาร เพราะถ้าหากลงมือปฏิบัติเองก็จะส่งผลให้มีความล่าช้าในการปฏิบัติงานหรือมีความเสี่ยงที่จะขาดทุนได้
4. สามารถลดต้นทุนในการดำเนินงานด้าน Logistics ได้ เนื่องจากผู้ให้บริการมีลูกค้าหลายราย จึงทำให้ผู้ให้บริการสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า ต้นทุนต่อหน่วยของผู้ให้บริการจะต่ำกว่าที่องค์กรผู้ผลิตหรืออเจ้าของสินค้าปฏิบัติเอง โดยสามารถลดต้นทุนจากการใช้บริการของผู้ให้บริการ Logistics ประกอบด้วย
4.1 การลดต้นทุนรวม (Total Cost Reduction) ซึ่งในการปฏิบัติงานด้านโลจิสติกส์ต้องมีการลงทุนทั้งทางด้านเทคโนโลยี เครื่องมือในการปฏิบัติงาน ซึ่งมีราคาแพง แต่ถ้าเราใช้บริการของผู้ให้บริการ ต้นทุนในส่วนนี้ก็จะเฉลี่ยกับลูกค้าของผู้ให้บริการอีกหลายๆ ราย
4.2 การลดต้นทุนจากการขยายขอบเขตงาน ( Economics of Scope) เนื่องจากขอบเขตงานบางอย่าง ผู้ผลิตหรือเจ้าของสินค้าไม่สามารถที่ปฏิบัติเองได้หรือหากปฏิบัติเองก็จะมีต้นทุนที่สูง แต่ถ้าเราใช้ประโยชน์จากผู้ให้บริการ องค์กรก็จะสามารถเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น เช่น การจัดส่งสินค้าไปยังต่างจังหวัด ซึ่งอยู่ห่างไกลจากองค์กร เมื่อเราใช้บริการของผู้ให้บริการก็จะสามารถส่งสินค้าให้กับลูกค้าที่อยู่ต่างจังหวัดได้ เนื่องจากผู้ให้บริการมีเครือข่ายอยู่ทั่วประเทศ
4.3 การลดต้นทุนโดยการใช้เครือข่ายร่วมกัน (Network Value) เนื่องจากผู้ให้ บริการบางรายจะมีเครือข่ายที่อยู่ต่างประเทศ และผู้ใช้บริการก็สามารถใช้เครือข่ายของผู้ให้บริการในการขยายตลาดสู่ตลาดสากลได้ โดยไม่ต้องลงทุนเองในต่างประเทศ

วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

การขนส่งตรง

การจัดการการขนส่งมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในด้านเวลาและด้านต้นทุน การออกแบบการขนส่งมีหลายทางเลือก เช่น การขนส่งแบบขนส่งตรง(Direct shipment) การขนส่งแบบรวบรวมและแบบรวมกระจายสินค้า(Milk run) การุขนส่งแบบใช้คลังสินค้าเป็นจุดผ่าน(Cross dock) การออกแบบการขนส่งตามขนาดลูกค้า ตามความหนาแน่นและระยะทาง ตามอุปสงค์และมูลค่าของผลิตภัณฑ์ ดังนี้

การขนส่งแบบขนส่งตรง

คือ การส่งสินค้าจากโรงงานเต็มคันรถ(Full truck load = FTL) ตรงไปให้ลูกค้าแต่ละราย โดยสินค้าจะไม่ผ่านคลังสินค้าหรือศูนย์กระจายสินค้าและไม่มีการเปลี่ยนถ่ายยานพาหนะระหว่างทาง

ข้อดีของการขนส่งตรง คือ

1.ไม่ต้องใช้คลังสินค้าหรือศูนย์กระจายสินค้าทำให้ไม่เสียเวลาและค่าใช้จ่าย
2.รวดเร็ว การขนส่งตรงยานพาหนะไม่ต้องแวะส่งสินค้าจุดอื่นทำให้ใช้เวลาน้อย เอื้อต่อการใช้ระบบ Just in time(JIT)
3.ระยะทางขนส่งสั้น การขนส่งตรงสินค้าไม่ต้องผ่านศูนย์กระจายสินค้า ทำให้สามารถเลือกเส้นทางขนส่งที่สั้นได้
การขนส่งแบบการขนส่งตรงจะประหยัดหรือมีต้นทุนต่ำนั้นสินค้าจะต้องเต็มคันรถ ถ้าสินค้าไม่เต็มคันรถต้นทุนขนส่งก็จะสูง การออกแบบการขนส่งตรงยังจะต้องพิจารณา ความถี่ของการส่งมอบอีกด้วย ความถี่ของการขนส่งมีผลต่อการให้บริการลูกค้า การขนส่งตรงเต็มคันรถใช้ได้กับลูกค้ารายใหญ่ ลูกค้ารายใหญ่ขายสินค้าปริมาณมากในแต่ละวันซึ่งจะไม่กระทบต่อต้นทุนสินค้าคงคลัง ร้านค้าปลีกขนาดเล็กถ้าส่งมอบแบบเต็มคันรถจะมีสินค้าคงคลังมากซึ่งทำให้มีต้นทุนสินค้าคงคลังสูง
ผู้ผลิต(Supplier) อาจเป็นผู้ผลิตวัตถุดิบหรือผู้ผลิตชิ้นส่วนหรือผู้ผลิตสินค้าสำเร็จรูป หากเป็นผู้ผลิตวัสถุดิบหรือชิ้นส่วนก็จะเป็นโรงงานผลิตสินค้า ถ้าเป็นผู้ผลิตสินค้าสำเร็จรูปก็จะเป็นผู้ค้าส่งหรือผู้ค้าปลีก ยานพาหนะบบรทุกสินค้าเต็มคันรถจากโรงงานA ส่งให้ลูกค้า ก. ยานพาหนะอีกคันหนึ่งส่งให้ลูกค้า ข.และยานพาหนะอีกคันบรรทุกเต็มคันรถส่งให้ลูกค้า

เทคนิคการพยากรณ์(forecasting technique)

การพยากรณ์มีเทคนิคแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
  1. การพยากรณ์แบบไร้หลักการ (Informal forecasting technique) ใช้การคาดเดาในการพยากรณ์
  2. การพยากรณ์แบบมีหลักการ (Formal forecasting technique)

2.1 การพยากรณ์เชิงคุณภาพ (Qualitative forecasting)
การพยากรณ์เชิงคุณภาพจะไม่ใช้ข้อมูลในอดีต แต่จะได้จากการสอบถามฝ่ายบริหาร (Executive opinions), ความเห็นจากพนักงานขาย (Sales staff opinions), การสำรวจลูกค้า (Customer survey), หรือ ความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ (Expert opinions) ซึ่งวิธีการเพื่อให้ได้ความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญนิยมใช้วิธีเดลไฟ (Delphi Method) พัฒนาโดย The Rand Corp. ในปี 1948 โดย คัดเลือกผู้เชี่ยวชาญ ส่งแบบสอบถาม รวบรวมผลลัพธ์และส่งผลกลับไปหาผู้เชี่ยวชาญ รวบรวมผลลัพธ์ใหม่เพื่อแก้ไขผลพยากรณ์ ส่งผลลัพธ์กลับไปหาผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะทำอย่างนี้ประมาณ 3 รอบหากมีมติที่ไม่เป็นเอกฉันท์ วิธีนี้เหมาะสำหรับการพยากรณ์เทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ในองค์กร
2.2 การพยากรณ์เชิงปริมาณ (Quantitative forecasting)
2.2.1 การพยากรณ์แบบอนุกรมเวลา (Time series forecasting)
- การพยากรณ์แบบนาอีฟ (Naïve) คือใช้ค่าจริงที่เกิดขึ้นจากคาบเวลาที่แล้วมาเป็นค่าพยากรณ์ Ft = At-1เช่น เดือนที่แล้ว ขายได้ 1000 ชิ้น เดือนนี้น่าจะขายได้ 1000 ชิ้นเช่นกัน
- การพยากรณ์แบบค่าเฉลี่ยปรับเรียบอย่างง่าย(Simple Smoothing Average)
- การพยากรณ์แบบค่าเฉลี่ยปรับเรียบแบบถ่วงน้ำหนัก(Weighted Smoothing Average)
- การพยากรณ์แบบปรับเรียบแบบเอ็กซ์โปเน็นเชี่ยล(Exponential Smoothing)
- การพยากรณ์แบบกำลังสองน้อยที่สุดเชิงเส้น(Linear Least Square)
- การพยากรณ์แบบกำลังสองน้อยที่สุดแบบเอ็กซ์โปเน็นเชี่ยล(Exponential Least Square)
2.2.2การพยากรณ์เชิงสหสัมพันธ์ (Correlative forecasting)
- การวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis)

ข้อได้เปรียบและเสียเปรียบการขนส่งรถบรรทุก

ข้อได้เปรียบ

1.รวดเร็ว(Speed) รถบรรทุกจัดได้ว่าเป็นบริการขนส่งที่รวดเร็ว ความรวดเร็วอยู่ที่ตัวพาหนะที่สามารถเดินทางด้วยความเร็ว รถบรรทุกขนสินค้าไม่มาก ดังนั้นจึงใช้เวลาน้อยในการรวบรวมสินค้าให้เต็มคัน(Full truck load : FTL) รวมทั้งการขนถ่ายสินค้าขึ้นรถและออกจากรถใช้เวลาน้อย
2.เป็นบริการขนส่งจากที่ถึงที่(Door-to-Door Service) รถบรรทุกสามารถเดินทางไปตามถนนใหญ่หรือถนนเล็กหรือแม้แต่ไม่มีถนน หากไม่มีสิ่งกีดขวางหรือสิ่งที่เป็นอุปสรรคจนเกินความสามารถของรถบรรทุก รถบบทุกก็สามารถที่จะเดินทางไปสถานที่ต่างๆเพื่อบรรทุกและขนถ่ายสินค้าได้ดีกว่าการขนส่งรูปแบบอื่น
3.เครือข่ายครอบคลุม(Extensive Road Network) รถบรรทุกสามารถเข้าถึงได้ทุกแห่งไม่ว่าจะเป็น ภูมิภาค จังหวัด อำเภอและหมู่บ้าน ขณะที่รูปแบบการขนส่งแบบอื่นๆมีเครือข่ายจำกัดจึงให้บริการจำกัดอยู่เฉพาะบางพื้นที่
4.การแข่งขันสูง(High Competition) ตลาดรถบรรทุกจะมีการแข่งขันมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละประเทศ ประเทศที่มีนโยบายให้มีผู้ประกอบการมากรายและอนุญาตให้มีรถบรรทุกส่วนบุคคลการแข่งขันจะมีมาก ประเทศที่มีการควบคุมจำนวนผู้ประกอบการหรือไม่อนุญาตให้มีรถบรรทุกส่วนบุคคลการแข่งขันก็จะมีน้อย
5.ความเสียหายน้อย(Low Damage) การขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุกมีความรวดเร็ว สินค้าอยู่บนยานพาหนะระยะเวลาสั้น ประกอบกัยถนนได้มาตรฐานและยานพาหนะมีระบบกันสะเทือนดี จึงลดความเสียหายสินค้า ผู้รับสินค้าได้รับสินค้าในสภาพสมบูรณ์
6.บรรทุกสินค้าปริมาณไม่มาก(Small Carrying Capacity) รถบรรทุกขนสินค้าได้น้อยเมื่อเปรียบเทียบกับการขนส่งแบบอื่นๆ ทำให้ใช้เวลาน้อยในการรวบรวมและการส่งมอบสินค้ารวมทั้งขนถ่ายใช้เวลาน้อยสินค้าจึงถึงผู้รับเร็ว ซึ่งลดปริมาณสินค้าคงคลังของลูกค้าและเพิ่มระดับการบริการลูกค้า
7.สามารถสนองความต้องการของลูกค้า(Meeting Customer Requirements) ผู้ประกอบการขนส่งด้วยรถบรรทุกมีจำนวนมากและส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายย่อยทำให้สามารถดูแลลูกค้าแต่ละรายได้มาก ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยังคงให้บริการตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างมั่นคง
8.ทำให้การขนส่งสมบูรณ์(Complete Transportation) การขนส่งรูปแบบอื่นไม่สามารถให้บริการแบบสมบูรณได้ เช่น รถไฟให้บริการขนส่งแบบสถานีถึงสถานี หรือเรือให้บริการขนส่งแบบจากท่าเรือถึงท่าเรือ รถบรรทุกจะเป็นตัวเชื่อมต่อกับรูปแบบการขนส่งอื่นๆและทำให้การขนส่งเกิดความสมบูรณ์

ข้อเสียเปรียบ

1.ค่าขนส่งแพง(High Cost) รถบรรทุกมีตันทุนสูงโดยเฉพาะ ต้นทุนน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่นและค่าบำรุงรักษา ดังนั้น ค่าระวางรถบรรทุกจะสูงกว่าการขนส่งรูปแบบอื่น(ยกเว้นทางอากาศ) แต่รถบรรทุกสามารถให้บริการแบบจากที่ถึงที่จึงลดค่าใช้จ่ายการขนส่งซ้ำซ้อนและลดเวลาเดินทางของสินค้า
2.บรรทุกสินค้าได้น้อย(Low Capacity) รถบรรทุกมีข้อจำกัดด้านความยาว ความสูงและน้ำหนักบรรทุกตามกฎหมาย รถบรรทุกจึงบรรทุกสินค้าสินค้าได้น้อยเมื่อเปรียบเทียบกับการขนส่งด้วยรถไฟหรือเรือ ซึ่งในปัจจุบันก็ได้มีการพัฒนารถบรรทุกให้มีความสามารถในการบรรทุกได้มากขึ้น เช่น รถพ่วง
3.อ่อนไหวต่อสภาพอากาศ(Weather Sensitive) ภูมิภาคที่มีหิมะตกปกคลุมถนนทำให้รถบรรทุกผ่านไปไม่ได้หรือต้องใช้ความเร็วต่ำหรือในภาวะมีภัยธรรมชาติทำให้ถนนถูกต้ดขาดรถบรรทุกวิ่งผ่านไม่ได้มีผลให้การส่งมอบสินค้าล่าช้าได้