วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

ปัจจัยในการเลือกทำเลที่

ปัจจัยในการเลือกทำเลที่

การเลือกทำเลที่ตั้งควรพิจารณาปัจจัยหลายปัจจัยประกอบกันมากกว่ามุ่งเน้นแต่ปัจจัยเดียวเพราะต้นทุนที่ต่ำในทางหนึ่งอาจจะไม่ได้ทำให้ต้นทุนรวมต่ำสุดก็ได้ อย่างไรก็ดีปัจจัยที่จะใช้พิจารณาควรเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานธุรกิจ กล่าวคือ ถ้าดำเนินกิจการคลังสินค้าชิ้นส่วนยานยนต์ ควรอยู่ในภาคตะวันออก เช่นระยอง เพราะใกล้โรงงานผลิตรถยนต์ ซึ่งงานคลังสินค้าเกี่ยวกับอุตสาหกรรมหนัก และเบา การบริการซึ่งรวมถึงการค้าปลีก ศูนย์กระจายสินค้า ศูนย์โลจิสติกส์

การเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้าจะต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการดำเนินกิจการคลังสินค้าไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ปัจจัยต่าง ๆที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้า คือ

- แหล่งสินค้า
การประกอบกิจการคลังสินค้าเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสินค้าเจ้าของสินค้าคือลูกค้าของคลังสินค้าโดยสภาพของวงจรของสินค้าแล้ว สินค้ามาจากผู้ผลิตผ่านคลังสินค้าไปยังตลาดจำหน่าย เจ้าของสินค้าคือผู้ถือกรรมสิทธิ์ในสินค้านั้นจึงได้แก่ผู้ผลิต และผู้จำหน่ายในขั้นตอนต่าง ๆ เจ้าของสินค้าเป็นผู้จ่ายบำเหน็จค่าบริการให้แก่คลังสินค้า แหล่งสินค้าจึงอาจเป็นได้ทั้งโรงงานผลิตสินค้า ท่าเรือนำสินค้าเข้าตลาดจำหน่ายสินค้าและท่าเรือส่งออก การเดินทางของสินค้าจากโรงงานผลิตสินค้า หรือจากท่าเรือน้ำเข้ามายังคลังสินค้า และจากคลังสินค้าไปยังตลาดจำหน่าย หรือเพื่อส่งออก ต้องเสียค่าขนส่งซึ่งเจ้าของสินค้าเป็นผู้จ่ายค่าใช้จ่ายในการขนส่งที่ประหยัดที่สุดเป็นสิ่งพึงประสงค์ของเจ้าของสินค้า ดังนั้นทำเลที่ตั้งคลังสินค้าที่พึงประสงค์ คือตำแหน่งที่อยู่ใกล้กับแหล่งสินค้ามากที่สุด ซึ่งจะทำให้เจ้าของสินค้าเสียค่าใช้จ่ายในการขนส่งน้อยที่สุด และยังเป็นการสะดวกแก่คลังสินค้าในการติดต่อธุรกิจอีกด้วย แหล่งสินค้าย่อยมีหลายแห่ง แต่ละแห่งมีปริมาณสินค้าที่ใช้บริการของคลังสินค้าในปริมาณมากน้อยต่างกัน ทำเลที่ตั้งคลังสินค้าที่เหมาะสมคืออยู่ในย่านกลางเฉลี่ยของแหล่งสินค้าทั้งปวงที่เป็นลูกค้า และเพ่งเล็งแหล่งที่มีปริมาณสินค้ามาก ๆเป็นสำคัญ โดยมีเป้าหมายว่าให้มีลูกค้ามาใช้บริการของคลังสินค้ามากที่สุด ซึ่งจะเป็นผลโดยตรงต่อรายได้ของกิจการคลังสินค้า

- เส้นทางคมนาคม
การประกอบกิจการคลังสินค้าเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสินค้าเจ้าของสินค้าคือลูกค้าของคลังสินค้าโดยสภาพของวงจรของสินค้าแล้ว สินค้ามาจากผู้ผลิตผ่านคลังสินค้าไปยังตลาดจำหน่าย เจ้าของสินค้าคือผู้ถือกรรมสิทธิ์ในสินค้านั้นจึงได้แก่ผู้ผลิต และผู้จำหน่ายในขั้นตอนต่าง ๆ เจ้าของสินค้าเป็นผู้จ่ายบำเหน็จค่าบริการให้แก่คลังสินค้า แหล่งสินค้าจึงอาจเป็นได้ทั้งโรงงานผลิตสินค้า ท่าเรือนำสินค้าเข้าตลาดจำหน่ายสินค้าและท่าเรือส่งออก การเดินทางของสินค้าจากโรงงานผลิตสินค้า หรือจากท่าเรือน้ำเข้ามายังคลังสินค้า และจากคลังสินค้าไปยังตลาดจำหน่าย หรือเพื่อส่งออก ต้องเสียค่าขนส่งซึ่งเจ้าของสินค้าเป็นผู้จ่ายค่าใช้จ่ายในการขนส่งที่ประหยัดที่สุดเป็นสิ่งพึงประสงค์ของเจ้าของสินค้า ดังนั้นทำเลที่ตั้งคลังสินค้าที่พึงประสงค์ คือตำแหน่งที่อยู่ใกล้กับแหล่งสินค้ามากที่สุด ซึ่งจะทำให้เจ้าของสินค้าเสียค่าใช้จ่ายในการขนส่งน้อยที่สุด และยังเป็นการสะดวกแก่คลังสินค้าในการติดต่อธุรกิจอีกด้วย แหล่งสินค้าย่อยมีหลายแห่ง แต่ละแห่งมีปริมาณสินค้าที่ใช้บริการของคลังสินค้าในปริมาณมากน้อยต่างกัน ทำเลที่ตั้งคลังสินค้าที่เหมาะสมคืออยู่ในย่านกลางเฉลี่ยของแหล่งสินค้าทั้งปวงที่เป็นลูกค้า และเพ่งเล็งแหล่งที่มีปริมาณสินค้ามาก ๆเป็นสำคัญ โดยมีเป้าหมายว่าให้มีลูกค้ามาใช้บริการของคลังสินค้ามากที่สุด ซึ่งจะเป็นผลโดยตรงต่อรายได้ของกิจการคลังสินค้า

- เส้นทางคมนาคม
ทำเลที่ตั้งคลังสินค้าต้องมีเส้นทางคมนาคมเข้าถึงได้ โดยสะดวกเส้นทางคมนาคมเหล่านั้นต้องมีสภาพดี ใช้ได้ทุกฤดูกาล ทุกสภาพอากาศ เพราะการเดินทางของสินค้าจากแหล่งสินค้ามาสู่คลังสินค้า และจากคลังสินค้าไปสู่ตลาด ต้องกระทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือความรวดเร็ว ในปริมาณมากด้วยเพื่อค่าขนส่งที่ประหยัด การขนส่งสินค้าอาจกระทำได้โดยทางถนน ทางรถไฟ ทางน้ำ ทางอากาศหรือแม้แต่ทางท่อ การขนส่งทางน้ำเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดและได้ปริมาณมากที่สุด รองลงไปคือการขนส่งทางรถไฟ แต่การขนส่งทางถนนโดยรถยนต์บรรทุกเป็นการกระจายสินค้าได้ดีที่สุด เพราะมีเครือข่ายเชื่อมโยงถึงกันไปทั่วประเทศ นับได้ว่าเป็นเส้นทางหลักสำหรับการขนส่งสินค้าภายในประเทศ ส่วนการขนส่งสินค้าทางอากาศนั้นแพงที่สุดและขนได้ในปริมาณที่จำกัด มีข้อดีคือความรวดเร็ว การขนส่งทางอากาศสำหรับสินค้าทั่วไปยังไม่เป็นที่นิยม ดังนั้นสำหรับการขนส่งส่งทางอากาศและทางท่อไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงหรือให้ความสำคัญในการเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้ามากนัก ทำเลที่ตั้งคลังสินค้าที่พึงประสงค์ควรมีเส้นทางขนส่งสามารถเข้าถึงได้หลายประเภทมากที่สุด อย่างน้อยควรจะมีทางถนนเป็นหลักเสริมด้วยทางน้ำและทางรถไฟอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่าง

- แหล่งแรงงาน
ทำเลที่ตั้งของธุรกิจควรอยู่ในสภาพแวดล้อมของชุมชนที่มีทัศนคติที่ดีต่อธุรกิจประเภทนั้น เพื่อที่จะได้รับการยอมรับและการสนับสนุนจากชุมชนที่อยู่รอบข้างทำเลที่ตั้งนั้น ถ้าชุมชนเห็นว่ากิจการคลังสินค้าเป็นธุรกิจที่มีความชอบธรรม ไม่เอารัดเอาเปรียบ ชุมชนก็จะให้ความนิยมชมชอบ ให้ความสนใจในการดำเนินงาน มีการมาสมัครเข้าทำงานมีการตั้งร้านค้าขายของใช้ที่จำเป็นให้แก่พนักงานของคลังสินค้ามีการร่วมมือในกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ กิจการคลังสินค้าก็สามารถจะดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง หากทำเลที่ตั้งคลังสินค้าตั้งอยู่ท่ามกลางชุมชนที่มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อธุรกิจ โดยเห็นไปว่าคลังสินค้าเป็นธุรกิจที่เอาเปรียบไม่ชอบธรรม ไม่เกื้อกูลต่อประโยชน์ของชุมชน ก็จะเกิดความขัดแย้งระหว่างคลังสินค้ากับชุมชน และอาจได้รับการกลั่นแกล้งนานาประการอันเป็นความเสียหายแก่การดำเนินธุรกิจกรณีเช่นนี้คลังสินค้าก็อยู่ไม่ได้ ดังนั้นในการเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้า จึงควรคำนึงถึงทัศนคติของชุมชนที่อยู่รอบข้างทำเลนั้นด้วย

- บริการสาธารณะ
ทำเลที่ตั้งคลังสินค้าควรอยู่ใกล้สิ่งอำนวยความสะดวกในการบริการสาธารณะของรัฐที่จัดให้แก่สังคม เช่นสถานีตำรวจ สถานีดับเพลิง สถาบันการศึกษาสถานพยาบาล เพื่อจะได้รับความสะดวกในการใช้บริการเหล่านั้น โดยคลังสินค้าไม่ต้องจัดขึ้นมาเอง ทำให้ประหยัดต้นทุนลงได้

- สิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมของธุรกิจที่มีความสำคัญมากก็คือ อากาศและน้ำที่สำคัญรองลงไปก็คือ อุณหภูมิ แสง เสียง ทำเลที่ตั้งคลังสินค้าที่เหมาะสมควรอยู่ในทำเลที่ตั้ง อากาศดี มีระบายน้ำสะดวก มีอุณหภูมิ แสง เสียง พอเหมาะ หากคลังสินค้าตั้งอยู่ในทำเลที่มีควันพิษมีน้ำเน่าส่งกลิ่นเหม็น คละคลุ้ง อุณหภูมิสูง อับแสง อับอากาศ เต็มไปด้วยเสียงอึกทึกครึกโครมก็จะมีผลต่อสภาพจิตของคนงาน และส่งผลต่อไปถึงสภาพการทำงาน เมื่อจิตใจไม่แจ่มใสก็อาจไม่เต็มใจทำงาน เมื่อสภาพของการทำงานไม่ดีผลงานก็ตกต่ำซึ่งเป็นผลเสียหายต่อกิจการทางธุรกิจเป็นอย่างยิ่ง ฉะนั้นสิ่งแวดล้อมที่ดีจึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงในการพิจารณาเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้า

Outsourcing

Outsourcing

Outsourcing หมายถึง การจัดหาจากภายนอก เป็นวิธีการที่องค์กรธุรกิจจัดหาวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ซึ่งครั้งหนึ่งอาจจะเคยถูกดำเนินการภายในองค์กร มาเป็นการจัดหาจากแหล่งภายนอกแทน จะทำให้องค์กรเล็กลงแต่คล่องตัวขึ้น ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆลงได้ และสามารถเน้นการดำเนินการเฉพาะแต่กิจกรรมที่เป็นกิจกรรมหลักซึ่งองค์กรมีความถนัด ทำให้สามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันหรือเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันมากขึ้น
ประโยชน์ของการ Outsourcing
1. สามารถควบคุมงบประมาณได้ง่ายขึ้น เนื่องจากกิจกรรมต่างๆ ที่องค์กรเคยปฏิบัติ ได้ มอบหมายให้กับหน่วยงานที่รับ Outsource แบบเบ็ดเสร็จ ซึ่งทำให้องค์กรจัดงบประมาณได้สะดวกขึ้น โดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตามมา
2. สามารถเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันได้ ในการ Outsource นั้น ถ้าเราเลือกใช้บริการผู้ที่มีชื่อเสียงในการทำกิจกรรมนั้นๆ ก็จะส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ขององค์กร ทำให้ลูกค้ามีความเชื่อถือ และสามารถยกระดับการแข่งขันทางธุรกิจได้ เพิ่มจุดแข็งให้กับองค์กรได้ อีกทั้ง องค์กรจะมีเวลาในการทุ่มเทกับกิจกรรมหลักมากขึ้น และมีความคล่องตัวในการบริหารงานมากขึ้น เช่น การ Outsource ด้านขนส่ง จากเดิมที่องค์กรดำเนินการเอง ซึ่งต้องรับภาระในเรื่องการซ่อม การบำรุงรักษา ค่าแรงหรือแม้กระทั่งต้องมีค่าใช้จ่ายในเรื่องค่าเสื่อมราคาของรถทุกปี แล้วเปลี่ยนมาใช้การ Outsource ก็จะทำให้องค์กรหมดภาระดังกล่าวทั้งหมด
3. ลดความเสี่ยง กิจกรรมใดที่องค์กรไม่ถนัดก็ทำการ Outsource ซึ่งก็จะทำให้ลดความเสี่ยงในการบริหาร เพราะถ้าหากลงมือปฏิบัติเองก็จะส่งผลให้มีความล่าช้าในการปฏิบัติงานหรือมีความเสี่ยงที่จะขาดทุนได้
4. สามารถลดต้นทุนในการดำเนินงานด้าน Logistics ได้ เนื่องจากผู้ให้บริการมีลูกค้าหลายราย จึงทำให้ผู้ให้บริการสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า ต้นทุนต่อหน่วยของผู้ให้บริการจะต่ำกว่าที่องค์กรผู้ผลิตหรืออเจ้าของสินค้าปฏิบัติเอง โดยสามารถลดต้นทุนจากการใช้บริการของผู้ให้บริการ Logistics ประกอบด้วย
4.1 การลดต้นทุนรวม (Total Cost Reduction) ซึ่งในการปฏิบัติงานด้านโลจิสติกส์ต้องมีการลงทุนทั้งทางด้านเทคโนโลยี เครื่องมือในการปฏิบัติงาน ซึ่งมีราคาแพง แต่ถ้าเราใช้บริการของผู้ให้บริการ ต้นทุนในส่วนนี้ก็จะเฉลี่ยกับลูกค้าของผู้ให้บริการอีกหลายๆ ราย
4.2 การลดต้นทุนจากการขยายขอบเขตงาน ( Economics of Scope) เนื่องจากขอบเขตงานบางอย่าง ผู้ผลิตหรือเจ้าของสินค้าไม่สามารถที่ปฏิบัติเองได้หรือหากปฏิบัติเองก็จะมีต้นทุนที่สูง แต่ถ้าเราใช้ประโยชน์จากผู้ให้บริการ องค์กรก็จะสามารถเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น เช่น การจัดส่งสินค้าไปยังต่างจังหวัด ซึ่งอยู่ห่างไกลจากองค์กร เมื่อเราใช้บริการของผู้ให้บริการก็จะสามารถส่งสินค้าให้กับลูกค้าที่อยู่ต่างจังหวัดได้ เนื่องจากผู้ให้บริการมีเครือข่ายอยู่ทั่วประเทศ
4.3 การลดต้นทุนโดยการใช้เครือข่ายร่วมกัน (Network Value) เนื่องจากผู้ให้ บริการบางรายจะมีเครือข่ายที่อยู่ต่างประเทศ และผู้ใช้บริการก็สามารถใช้เครือข่ายของผู้ให้บริการในการขยายตลาดสู่ตลาดสากลได้ โดยไม่ต้องลงทุนเองในต่างประเทศ

วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

การขนส่งตรง

การจัดการการขนส่งมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในด้านเวลาและด้านต้นทุน การออกแบบการขนส่งมีหลายทางเลือก เช่น การขนส่งแบบขนส่งตรง(Direct shipment) การขนส่งแบบรวบรวมและแบบรวมกระจายสินค้า(Milk run) การุขนส่งแบบใช้คลังสินค้าเป็นจุดผ่าน(Cross dock) การออกแบบการขนส่งตามขนาดลูกค้า ตามความหนาแน่นและระยะทาง ตามอุปสงค์และมูลค่าของผลิตภัณฑ์ ดังนี้

การขนส่งแบบขนส่งตรง

คือ การส่งสินค้าจากโรงงานเต็มคันรถ(Full truck load = FTL) ตรงไปให้ลูกค้าแต่ละราย โดยสินค้าจะไม่ผ่านคลังสินค้าหรือศูนย์กระจายสินค้าและไม่มีการเปลี่ยนถ่ายยานพาหนะระหว่างทาง

ข้อดีของการขนส่งตรง คือ

1.ไม่ต้องใช้คลังสินค้าหรือศูนย์กระจายสินค้าทำให้ไม่เสียเวลาและค่าใช้จ่าย
2.รวดเร็ว การขนส่งตรงยานพาหนะไม่ต้องแวะส่งสินค้าจุดอื่นทำให้ใช้เวลาน้อย เอื้อต่อการใช้ระบบ Just in time(JIT)
3.ระยะทางขนส่งสั้น การขนส่งตรงสินค้าไม่ต้องผ่านศูนย์กระจายสินค้า ทำให้สามารถเลือกเส้นทางขนส่งที่สั้นได้
การขนส่งแบบการขนส่งตรงจะประหยัดหรือมีต้นทุนต่ำนั้นสินค้าจะต้องเต็มคันรถ ถ้าสินค้าไม่เต็มคันรถต้นทุนขนส่งก็จะสูง การออกแบบการขนส่งตรงยังจะต้องพิจารณา ความถี่ของการส่งมอบอีกด้วย ความถี่ของการขนส่งมีผลต่อการให้บริการลูกค้า การขนส่งตรงเต็มคันรถใช้ได้กับลูกค้ารายใหญ่ ลูกค้ารายใหญ่ขายสินค้าปริมาณมากในแต่ละวันซึ่งจะไม่กระทบต่อต้นทุนสินค้าคงคลัง ร้านค้าปลีกขนาดเล็กถ้าส่งมอบแบบเต็มคันรถจะมีสินค้าคงคลังมากซึ่งทำให้มีต้นทุนสินค้าคงคลังสูง
ผู้ผลิต(Supplier) อาจเป็นผู้ผลิตวัตถุดิบหรือผู้ผลิตชิ้นส่วนหรือผู้ผลิตสินค้าสำเร็จรูป หากเป็นผู้ผลิตวัสถุดิบหรือชิ้นส่วนก็จะเป็นโรงงานผลิตสินค้า ถ้าเป็นผู้ผลิตสินค้าสำเร็จรูปก็จะเป็นผู้ค้าส่งหรือผู้ค้าปลีก ยานพาหนะบบรทุกสินค้าเต็มคันรถจากโรงงานA ส่งให้ลูกค้า ก. ยานพาหนะอีกคันหนึ่งส่งให้ลูกค้า ข.และยานพาหนะอีกคันบรรทุกเต็มคันรถส่งให้ลูกค้า

เทคนิคการพยากรณ์(forecasting technique)

การพยากรณ์มีเทคนิคแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
  1. การพยากรณ์แบบไร้หลักการ (Informal forecasting technique) ใช้การคาดเดาในการพยากรณ์
  2. การพยากรณ์แบบมีหลักการ (Formal forecasting technique)

2.1 การพยากรณ์เชิงคุณภาพ (Qualitative forecasting)
การพยากรณ์เชิงคุณภาพจะไม่ใช้ข้อมูลในอดีต แต่จะได้จากการสอบถามฝ่ายบริหาร (Executive opinions), ความเห็นจากพนักงานขาย (Sales staff opinions), การสำรวจลูกค้า (Customer survey), หรือ ความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ (Expert opinions) ซึ่งวิธีการเพื่อให้ได้ความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญนิยมใช้วิธีเดลไฟ (Delphi Method) พัฒนาโดย The Rand Corp. ในปี 1948 โดย คัดเลือกผู้เชี่ยวชาญ ส่งแบบสอบถาม รวบรวมผลลัพธ์และส่งผลกลับไปหาผู้เชี่ยวชาญ รวบรวมผลลัพธ์ใหม่เพื่อแก้ไขผลพยากรณ์ ส่งผลลัพธ์กลับไปหาผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะทำอย่างนี้ประมาณ 3 รอบหากมีมติที่ไม่เป็นเอกฉันท์ วิธีนี้เหมาะสำหรับการพยากรณ์เทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ในองค์กร
2.2 การพยากรณ์เชิงปริมาณ (Quantitative forecasting)
2.2.1 การพยากรณ์แบบอนุกรมเวลา (Time series forecasting)
- การพยากรณ์แบบนาอีฟ (Naïve) คือใช้ค่าจริงที่เกิดขึ้นจากคาบเวลาที่แล้วมาเป็นค่าพยากรณ์ Ft = At-1เช่น เดือนที่แล้ว ขายได้ 1000 ชิ้น เดือนนี้น่าจะขายได้ 1000 ชิ้นเช่นกัน
- การพยากรณ์แบบค่าเฉลี่ยปรับเรียบอย่างง่าย(Simple Smoothing Average)
- การพยากรณ์แบบค่าเฉลี่ยปรับเรียบแบบถ่วงน้ำหนัก(Weighted Smoothing Average)
- การพยากรณ์แบบปรับเรียบแบบเอ็กซ์โปเน็นเชี่ยล(Exponential Smoothing)
- การพยากรณ์แบบกำลังสองน้อยที่สุดเชิงเส้น(Linear Least Square)
- การพยากรณ์แบบกำลังสองน้อยที่สุดแบบเอ็กซ์โปเน็นเชี่ยล(Exponential Least Square)
2.2.2การพยากรณ์เชิงสหสัมพันธ์ (Correlative forecasting)
- การวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis)

ข้อได้เปรียบและเสียเปรียบการขนส่งรถบรรทุก

ข้อได้เปรียบ

1.รวดเร็ว(Speed) รถบรรทุกจัดได้ว่าเป็นบริการขนส่งที่รวดเร็ว ความรวดเร็วอยู่ที่ตัวพาหนะที่สามารถเดินทางด้วยความเร็ว รถบรรทุกขนสินค้าไม่มาก ดังนั้นจึงใช้เวลาน้อยในการรวบรวมสินค้าให้เต็มคัน(Full truck load : FTL) รวมทั้งการขนถ่ายสินค้าขึ้นรถและออกจากรถใช้เวลาน้อย
2.เป็นบริการขนส่งจากที่ถึงที่(Door-to-Door Service) รถบรรทุกสามารถเดินทางไปตามถนนใหญ่หรือถนนเล็กหรือแม้แต่ไม่มีถนน หากไม่มีสิ่งกีดขวางหรือสิ่งที่เป็นอุปสรรคจนเกินความสามารถของรถบรรทุก รถบบทุกก็สามารถที่จะเดินทางไปสถานที่ต่างๆเพื่อบรรทุกและขนถ่ายสินค้าได้ดีกว่าการขนส่งรูปแบบอื่น
3.เครือข่ายครอบคลุม(Extensive Road Network) รถบรรทุกสามารถเข้าถึงได้ทุกแห่งไม่ว่าจะเป็น ภูมิภาค จังหวัด อำเภอและหมู่บ้าน ขณะที่รูปแบบการขนส่งแบบอื่นๆมีเครือข่ายจำกัดจึงให้บริการจำกัดอยู่เฉพาะบางพื้นที่
4.การแข่งขันสูง(High Competition) ตลาดรถบรรทุกจะมีการแข่งขันมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละประเทศ ประเทศที่มีนโยบายให้มีผู้ประกอบการมากรายและอนุญาตให้มีรถบรรทุกส่วนบุคคลการแข่งขันจะมีมาก ประเทศที่มีการควบคุมจำนวนผู้ประกอบการหรือไม่อนุญาตให้มีรถบรรทุกส่วนบุคคลการแข่งขันก็จะมีน้อย
5.ความเสียหายน้อย(Low Damage) การขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุกมีความรวดเร็ว สินค้าอยู่บนยานพาหนะระยะเวลาสั้น ประกอบกัยถนนได้มาตรฐานและยานพาหนะมีระบบกันสะเทือนดี จึงลดความเสียหายสินค้า ผู้รับสินค้าได้รับสินค้าในสภาพสมบูรณ์
6.บรรทุกสินค้าปริมาณไม่มาก(Small Carrying Capacity) รถบรรทุกขนสินค้าได้น้อยเมื่อเปรียบเทียบกับการขนส่งแบบอื่นๆ ทำให้ใช้เวลาน้อยในการรวบรวมและการส่งมอบสินค้ารวมทั้งขนถ่ายใช้เวลาน้อยสินค้าจึงถึงผู้รับเร็ว ซึ่งลดปริมาณสินค้าคงคลังของลูกค้าและเพิ่มระดับการบริการลูกค้า
7.สามารถสนองความต้องการของลูกค้า(Meeting Customer Requirements) ผู้ประกอบการขนส่งด้วยรถบรรทุกมีจำนวนมากและส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายย่อยทำให้สามารถดูแลลูกค้าแต่ละรายได้มาก ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยังคงให้บริการตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างมั่นคง
8.ทำให้การขนส่งสมบูรณ์(Complete Transportation) การขนส่งรูปแบบอื่นไม่สามารถให้บริการแบบสมบูรณได้ เช่น รถไฟให้บริการขนส่งแบบสถานีถึงสถานี หรือเรือให้บริการขนส่งแบบจากท่าเรือถึงท่าเรือ รถบรรทุกจะเป็นตัวเชื่อมต่อกับรูปแบบการขนส่งอื่นๆและทำให้การขนส่งเกิดความสมบูรณ์

ข้อเสียเปรียบ

1.ค่าขนส่งแพง(High Cost) รถบรรทุกมีตันทุนสูงโดยเฉพาะ ต้นทุนน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่นและค่าบำรุงรักษา ดังนั้น ค่าระวางรถบรรทุกจะสูงกว่าการขนส่งรูปแบบอื่น(ยกเว้นทางอากาศ) แต่รถบรรทุกสามารถให้บริการแบบจากที่ถึงที่จึงลดค่าใช้จ่ายการขนส่งซ้ำซ้อนและลดเวลาเดินทางของสินค้า
2.บรรทุกสินค้าได้น้อย(Low Capacity) รถบรรทุกมีข้อจำกัดด้านความยาว ความสูงและน้ำหนักบรรทุกตามกฎหมาย รถบรรทุกจึงบรรทุกสินค้าสินค้าได้น้อยเมื่อเปรียบเทียบกับการขนส่งด้วยรถไฟหรือเรือ ซึ่งในปัจจุบันก็ได้มีการพัฒนารถบรรทุกให้มีความสามารถในการบรรทุกได้มากขึ้น เช่น รถพ่วง
3.อ่อนไหวต่อสภาพอากาศ(Weather Sensitive) ภูมิภาคที่มีหิมะตกปกคลุมถนนทำให้รถบรรทุกผ่านไปไม่ได้หรือต้องใช้ความเร็วต่ำหรือในภาวะมีภัยธรรมชาติทำให้ถนนถูกต้ดขาดรถบรรทุกวิ่งผ่านไม่ได้มีผลให้การส่งมอบสินค้าล่าช้าได้

ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขนส่ง

สินค้ามีการเคลื่อนย้ายจากต้นทางจนถึงปลายทาง การเคลื่อนย้ายต้องใช้การขนส่งรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือผสมกันหลายรูปแบบ การขนส่งผู้โดยสารก็ต้องผ่านกระบวนการต่างๆตั้งแต่ต้นน้ำไปถึงปลายน้ำเช่นกัน การขนส่งสินค้าและผู้โดยสารจึงมีผู้เกี่ยวข้อง ดังนี้

1.ผู้ส่งของ(Shipper or Consignor) ผู้ส่งของเป็นผู้ตัดสินใจเลือกรูปแบบการขนส่ง ซึ่งอาจจะเป็นรถบรรทุก รถไฟ เรือ เครื่องบินหรือท่อ ทั้งนี้หลักการในการตัดสินใจเลือกรูปแบบและผู้ขนส่งนั้น คือ ให้มีต้นทุนการขนส่งต่ำ สินค้าถึงที่หมายปลายทางตามเวลาที่กำหนด โดยมีสภาพที่สมบูรณ์และครับถ้วน
ความต้องการบริการของผู้ส่งของมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ คือ การตอบสนองและสร้างความพึงพอใจกับลูกค้าของทางบริษัท การขนส่งนั้นมีผลกระทบต่อการตลาดและราคาสินค้า สินค้าจะต้องมีพร้อมขายในเวลาและสถานที่ที่มีความต้องการ หากการขนส่งขาดความแน่นอนลูกค้าลูกค้าจะไม่มีสินค้าขายเป็นการสูญเสียโอกาสที่จะทำกำไรและอาจสูญเสียลูกค้าได้ด้วยเช่นเดียวกัน
2.ผู้รับของ(Consignee) ผู้รับของมีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจใช้บริการขนส่ง เงื่อนไขในการซื้อขายกำหนดว่าผู้ใดรับผิดชอบจัดการขนส่ง การซื้อขายในเงื่อนไข E-Term และ F-Term ผู้ซื้อมีหน้าที่จัดหาการขนส่ง การเลือกรูปแบบการขนส่งและผู้รับขนจะพิจารณาต้นทุนขนส่ง ความรีบด่วนในการใช้สินค้า ต้นทุนสินค้าคงคลังและอื่นๆความต้องการของผู้รับของอาจจะแตกต่างไปตามประเภทของธุรกิจ ผู้รับของที่เป็นร้านค้าปลีกมีสินค้าไว้เพื่อขาย ร้านค้าปลึกจึงต้นมีสินค้าไว้พร้อม
3.ผู้รับขน(Carrier) ผู้รับขนคือผู้ให้บริการขนส่ง ผู้รับขนประกอบด้วย ผู้ประกอบการขนส่งด้วยรถบรรทุก รถไฟ เครื่องบิน เรือและทางท่อ ผู้รับขนมีหน้าที่จัดการขนส่งตามความต้องการของลูกค้า ลูกค้ามีความต้องการบริการขนส่งที่รวดเร็ว เชื่อถือได้และราคาที่เหมาะสม ผู้รับขนจึงต้องมียานพาหนะขนส่ง มีสถานีที่ต้นทางและสถานีกระจายสินค้าที่ปลายทาง ผู้รับขนอาจให้บริการแบบจากที่ถึงที่รวมทั้งการขนส่งแบบต่อเนื่องหลายรูปแบบหรือต่างรูปแบบ(Multi-modal transport or inter-modal transport) ผู้รับขนอาจจะแบ่งเป็นผู้ให้บริการกับบุคคลทั่วไป(Public Carrier) ผู้ให้บริการเฉพาะลูกค้า(Contract carrier) ผู้ให้บริการแบบเหมาคันหรือผู้ให้บริการกับผู้ส่งของรายย่อย

ปัจจัยสำคัญในการขนส่ง

ปัจจัยสำคัญในการขนส่ง

ในการประกอบธุรกิจทางด้านการขนส่งนั้น จะมีองค์ประกอบที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก คือ เส้นทาง(Way or Route) รถยนต์(Vehicle) อุปกรณ์(Equipment) สถานี(Terminal) และยังมีองค์ประกอบอื่นๆที่จะต้องพิจารณาอีก เช่น ผู้ประกอบการ(Operator or Carrier) กฎระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ(Regulations)

1.เส้นทางในการขนส่ง(Way,Route) หมายถึง ถนน แม่น้ำ ทะเล ทางรถไฟและอากาศ ซึ่งจะเป็นเส้นทางที่ใช้เดินทางเพื่อการขนส่ง ซึ่งอาจจะเป็นเส้นทางบนอากาศหรือในทะเลมหาสมุทร นอกจากนี้เส้นทางในการขนส่งอาจจะเป็นเส้นทางที่มีการใช้อยู่เป็นประจำหรือเป็นครั้งคราวหรืออาจจะเป็นเส้นทางที่ถูกกำหนดขึ้นตามความต้องการก็ได้
2.รถยนต์ในการขนส่ง(Vehicle) รถยนต์ในการขนส่งในที่นี้ หมายถึง รถยนต์ รถไฟ เรือ เครื่องบิน ในการขนส่งนี้ก็อาจจะแบ่งออกเป็นอุปกรณ์ในการเคลื่อนย้ายและอำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยสารและอุปกรณ์เพื่อการส่งสินค้าและบริการหรืออาจจะเป็นอุปกรณ์เพื่อการขนส่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งเฉพาะก็ได้
3.อุปกรณ์ในการขนส่ง(Equipment) อุปกรณ์ที่ใช้อำนวยความสะดวกในการขนส่งในที่นี้ หมายถึง รถยก อุปกรณ์ขึ้นสินค้า อาจจะแบ่งออกเป็นอุปกรณ์ในการเคลื่อนย้ายและยกขนสินค้า
4.สถานนีในการขนส่ง(Terminal) เป็นสถานที่ซึ่งใช้เป็นจุดสำหรับหยุดรับส่งผู้โดยสารหรือสินค้าและบริการสำหรับการขนส่งแต่ละประเภท ซึ่งอาจจะเป็นสถานีต้นทางหรือหรือระหว่่างเส้นทางก็ได้ การเรียกชื่อสถานีในการขนส่งนี้ก็มีการเรียกที่แตกต่างกันออกไป เช่น ท่าอากาศยาน ใช้สำหรับการขนส่งทางอากาศ ท่าเรือ ใช้สำหรับการขนส่งทางน้ำ สถานีขนส่งผู้โดยสารและสถานีขนส่งสินค้าใช้สำหรับการขนส่งทางบก
ปัจจัยหรือองค์ประกอบทั้ง 4 ประการ ถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญสำหรับการขนส่งซึ่งจำเป็นต้องมีและจะขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ได้เลย เช่น ถ้ามีเส้นทางและมีสถานีในการขนส่ง แต่ขาดอุปกรณ์ในการขนส่งก็ไม่สามารถที่จะดำเนินกิจกรรมต่างๆได้หรือมีสถานีในการขนส่งและอุปกรณ์ทุกอย่างพร้อมแต่ขาดเส้นทางสำหรับการขนส่ง ก็ไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ได้เช่นกัน ดังนั้นปัจจัยทั้ง 4 อย่างนี้ คือ เส้นทาง รถยนต์ อุปกรณ์และสถานีในการขนส่ง จึงเป็นสิ่งที่ถือได้ว่าจำเป็นและเป็นปัจจัยที่สำคัญสำหรับการขนส่งซึ่งจะขาดไม่ได้

ความหมายของการขนส่ง(Definition of Transportation)

ความหมายของการขนส่ง(Definition of Transportation)

หมายถึง การจัดให้มีการเคลื่อนย้ายบุคคล สัตว์หรือสิ่งของต่างๆด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่ง ทำการเคลื่อนย้ายจากแห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง ตามวัตถุประสงค์และการเกิดอรรถประโยชน์ตามต้องการ

วัตถุประสงค์ของการขนส่ง(Objective of Transportation)

1.เพื่อสังคม การคบหาสมาคมและติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆในสังคมนั้นมีอยู่ตลอดเวลา มีการพบปะพดคุยกันแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่อยู่กลุ่มเดียวกันหรือต่างกลุ่มกัน จะต้องมีการติดต่อและไปมาหาสู่กันไม่มากก็น้อยและเมื่อมีความจำเป็นที่ต้องติดต่อสัมพันธ์กัน การขนส่งจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่สามารถสนับสนุนและตอบสนองวัตถุประสงค์ได้อย่างเต็มที่
2.เพื่อที่อยู่อาศัยและการประกอบอาชีพ คนเรามีความจำเป็นที่จะต้องมีที่อยู่อาศัยเพื่อใช้สำหรับเป็นที่พักผ่อน และพร้อมกันนั้นก็จะต้องมีการประกอบอาชีพเพื่อหารายได้มาดำรงชีวิต ซึ่งโดยทั่วไปแล้วสถานที่อยู่อาศัยกับสถานที่ทำงานจะอยู่กันคนละแห่ง จึงจำเป็นต้องอาศัยการขนส่งเข้ามาเป็นสื่อกลางในการเดินทางระหว่างที่พักอาศัยกับที่ทำงาน
3.เพื่อการเมืองและการปกครอง ในการบริหารประเทศนั้น จำเป็นต้องอาศัยการขนส่งเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างมากเพราะการปกครองที่ดีนั้น จะต้องมีความสามารถในการปกครองให้ทั่วถึงและเกิดความเจริญทัดเทียมกัน พร้อมกันนั้นก็จะต้องมีการระวังป้องกันประเทศด้วย คือ รัฐบาลจะต้องปกครองและบริหารประเทศให้ดีและให้ทั่วถึง ในขณะเดียวกันก็จะต้องพยายามป้องกันและรักษาความปลอดภัยของประเทศด้วย เพื่อให้ประเทศเกิดความเจริญรุ่งเรือง ประชาชนอยู่กันอย่างสงบสุข ฉะนั้นจึงต้องอาศัยการขนส่งมาช่วยส่งเสริม
4.เพื่อการศึกษาหาความรู้ สังคมปัจจุบันมีความจำเป็นต้องมีการแสวงหาความรู้ประสบการณ์ใหม่ๆอยู่เสมอ เพื่อพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นจึงต้องมีการศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ จึงใช้การขนส่งเข้ามาช่วยในการเดินทางเพื่อศึกษาหาความรู้ ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางเพื่อการศึกษาในบริเวณใกล้เคียงหรือแม้กระทั่งการศึกษาในต่างประเทศ
5. เพื่อการท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจ เมื่อคนเรามีการประกอบอาชีพ มีการศึกษาหาความรู้และอื่นๆแล้ว ก็จะต้องมีการพักผ่อนหย่อนใจไปพร้อมกันด้วย ในการพักผ่อนหย่อนใจนั้น เราอาจจะใช้วิธีที่แตกต่างกันออกไป เช่น อ่านหนังสือ ดูหนัง เล่นกีฬา ปลูกต้นไม้ แต่ก็มีอีกวิธีหนึ่งที่คนเรานิยมกันมากที่สุดก็คือ การท่องเที่ยว(Tourism) ซึ่งการท่องเที่ยวนี้มีแหล่งการท่องเที่ยวมากมาย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดังนั้นการท่องเที่ยวจึงจำเป็นต้องอาศัยการขนส่งเข้ามาเป็นสื่อกลางในการเดินทางเพื่อไปให้ถึงยังแหล่งท่องเที่ยวตามต้องการ
6.วัตถุประสงค์อื่นๆ การขนส่งยังมีส่วนสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับสิ่งอื่นๆอีกมากมาย โดยเฉพาะทางด้านการประกอบธุรกิจและอุตสาหกรรม ซึ่งต่างก็ต้องอาศัยการขนส่งเข้ามามีบทบาทร่วมด้วยทั้งสิ้น เช่น ในการผลิตสินค้าและบริการต่างๆไม่ว่าจะเป็นสินค้าอุปโภคหรือบริโภค จำเป็นต้องมีการขนส่งสินค้าและบริการโดยเริ่มตั้งแต่วัตถุดิบ จนผลิตออกมาเป็นสินค้าจนถึงมือผู้บริโภค สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยการขนส่งทั้งสิ้น

ระบบต้นทุนฐานกิจกรรม(Activity Based Costing หรือ ABC)

ระบบต้นทุนฐานกิจกรรม(Activity Based Costing)

ระบบนี้จะเป็นระบบที่จำแนกสินค้าคงคลังออกเป็นแต่ละประเภท โดยจะพิจารณาจากปริมาณและมูลค่าของสินค้าคงคลังแต่ละรายการเป็นเกณฑ์ เพื่อช่วยลดภาระในการดูแล ตรวจนับและควบคุมสินค้าคงคลังที่มีอยู่อย่างมากมายภายในคลังสินค้า ซึ่งถ้าเกิดมีการควบคุมสินค้าทุกรายการอย่างเข้มงวดเท่าเทียมกันจะทำให้เสียเวลาและจะทำให้ค่าใช้จ่ายมากเกินความจำเป็น จะเห็นได้ว่าบรรดาสินค้าคงคลังทั้งหลายของแต่ละอุตสาหกรรมนั้น มักจะเป็นไปตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้

A เป็นสินค้าคงคลังที่มีปริมาณน้อย(5-15% ของสินค้าคงคลังทั้งหมด) แต่มีมูลค่ารวมค่อนข้างสูง(70-80% ของมูลค่าทั้งหมด)
B เป็นสินค้าคงคลังที่มีปริมาณปานกลาง(30% ของสินค้าคงคลังทั้งหมด) แต่มีมูลค่ารวมปานกลาง(15% ของมูลค่าทั้งหมด)
C เป็นสินค้าคงคลังที่มีปริมาณมาก(50-60% ของสินค้าคงคลังทั้งหมด) แต่มีมูลค่ารวมค่อนข้างต่ำ(5-10% ของมูลค่าทั้งหมด)
การจะแนกสินค้าคงคลังเป็นหมวดABC จะทำให้การควบคุมสินค้าคงคลังแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้
A ควบคุมอย่างเข้มงวดมาก ด้วยการลงบัญชีทุกครั้งที่มีการรับจ่ายและจะมีความถี่ในการตรวจนับจำนวนจริงเพื่อเปรียบเทียบกับจำนวนในบัญชี เช่น ทุกสัปดาห์ การควบคุมจึงควรที่จะใช้ระบบสินค้าคงคลังอย่างต่อเนื่องและต้องเก็บสินค้าไว้ในที่ที่ปลอดภัย ในด้านการจัดซื้อก็ควรหาผู้ขายไว้หลายรายเพื่อลดความเสี่ยงจากการขาดสินค้าและสามารถเจรจาต่อรองราคาได้
B ควบคุมอย่างเข้มงวด ด้วยการลงบัญชีคุมเช่นเดียวกับA ควรมีการเบิกจ่ายอย่างเป็นระบบเพื่อป้องกันการสูญหาย การตรวจนับจำนวนจริงก็ทำเช่นเดียวกับA แต่ความถี่ในการตรวจนับจำนวนจริงจะน้อยกว่า เช่น ทุกสิ้นเดือน และการควบคุมB ควรที่จะใช้ระบบสินค้าคงคลังอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกับ A
C ไม่มีการจดบันทึกหรือมีเพียงเล็กน้อย สินค้าคงคลังประเภทนี้จะวางให้หยิบได้อน่างสะดวกเนื่องจากเป็นสินค้าที่มีราคาถูกและปริมาณมากหรือสินค้าที่ไม่ใช้แล้ว ถ้าทำการควบคุมอย่างเข้มงวดจะทำให้มีค่าใช้จ่ายมากซึ่งจะไม่คุ้มค่า การตรวจนับ C จะใช้ระบบสินค้าคงคลังแบบสิ้นงวด คือ อาจจะมีการตรวจนับรายไตรมาสเพื่อดูปริมาณที่ขาดแล้วจะซื้อมาเติมหรืออาจใช้ระบบสองกล่อง(Two-bin System) ซึ่งมีกล่องวัสดุอยู่ 2 กล่องเป็นการเผื่อไว้ พอใช้กล่องแรกหมดก็นำเอากล่องสำรองมาใช้แล้วรีบซื้อสินค้าเติมใส่กล่องสำรองแทน ซึ่งจำทำให้สินค้าไม่ขาดมือ

การจัดการสินค้าคงคลัง Inventory Management

การจัดการสินค้าคงคลัง(Inventory Management)

สินค้าคงคลังนั้น เป็นส่วนประกอบทางต้นทุนของผลิตภัณฑ์ที่สูงที่สุด นอกจากนั้นแล้วการที่ทางธุรกิจมีสินค้าคงคลังที่้เพียงพอ ยังเป็นการตอบสนองความพึงพอใจและความต้องการของลูกค้าในด้านเวลาได้เป็นอย่างดี ฉะนั้นสินค้าคงคลังจึงมีความสำคัญต่อธุรกิจเป็นอย่างมากเลยทีเดียว การจัดการสินค้าคงคลังที่มีประสิทธิภาพส่งผลกระทบต่อผลกำไรจากการประกอบการโดยตรง การจัดซื้อเพื่อนำมาเก็บเป็นสินค้าคงคลังที่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการ ในปริมาณเพียงพอ ด้วยราคาที่เหมาะสมและตามเวลาที่กำหนด โดยมีการซื้อจากผู้ขายที่ไว้ใจได้และสามารถจัดส่งไปยังสถานที่ที่ถูกต้องตามแนวทางการปฏิบัติการจัดซื้อที่ดีที่สุด ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดการสินค้าคงคลัง ในปัจจุบันนี้ทีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาจัดการข้อมูลของสินค้าคงคลังทำให้เกิดความถูกต้อง แม่นยำและตรงตามกำหนดมากยิ่งขึ้น

ชนิดของสินค้าคงคลัง
1.วัตถุดิบ(Raw Material) คือ สิ่งของหรือชิ้นส่วนที่ซื้อมาเพื่อใช้ในการผลิต
2.สินค้าที่อยู่ในระหว่างการผลิต(Work-in-Process) คือ ชิ้นงานที่อยู่ในขั้นตอนการผลิตหรือรอคอยที่จะผลิตในขั้นตอนต่อไป โดยยังผ่านกระบวนการผลิตที่ไม่ครบทุกขั้นตอน
3.วัสดุซ่อมบำรุง(Maintenance/Overhaul) คือ ชิ้นส่วนหรืออะไหล่เครื่องจักร ที่สำรองไว้เผื่อเปลี่ยนเมื่อชิ้นส่วนเดิมเสียหายหรือหมดอายุการใช้งาน
4.สินค้าสำเร็จรูป(Finished Good) คือ ผลผลิตที่ผ่านทุกกระบวนการผลิตครบถ้วน พร้อมที่จะนำไปขายให้กับลูกค้า

ประโยชน์ของสินค้าคงคลัง
1.สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในแต่ละช่วงเวลาทั้งในและนอกฤดูกาล โดยต้องเก็บสินค้าไว้ในคลังสินค้า
2.รักษาการผลิตให้มีอัตราคงที่สม่ำเสมอ เพื่อรักษาระดับการว่าจ้างแรงงาน การเดินเครื่องจักรให้สม่ำเสมอได้ โดยจะเก็บสินค้าที่ปริมาณการขายต่ำไว้ขายช่วงฤดูกาลที่ลูกค้าต้องการ
3.ทำให้ธุรกิจได้ส่วนลดปริมาณจากการจัดซื้อครั้งละมากๆ ป้องกันการเปลี่ยนแปลงราคาและผลกระทบจากเงินเฟ้อ เมื่อสินค้าในท้องตลาดมีราคาสูงขึ้นหรือเป็นการเก็งกำไรทางการตลาด
4.ป้องกันสินค้าขาดมือด้วยสต๊อกเพื่อความปลอดภัย(Safety stock) ในกรณีเกิดความล่าช้าหรือบังเอิญมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นกะทันหันหรือเป็นการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
5.ทำให้กระบวนการผลิตสามารถดำเนินการต่อเนื่องอย่างราบรื่น ไม่มีการหยุดชะงักเพราะวัตถุดิบขาด จนเกิดความเสียหายแก่กระบวนการผลิตซึ่งจะทำให้คนงานว่างงาน เครื่องจักรถูกปิด ผลิตไม่ทันคำสั่งซื้อของลูกค้า

การเลือกทำเลที่ตั้ง Location Selection

การประกอบกิจการคลังสินค้า จำเป็นต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกทางด้านวัตถุ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุผลสำเร็จ สิ่งอำนวยความสะดวกในการประกิจกิจการคลังสินค้า ได้แก่ อาคารสถานที่และสิ่งก่อสร้างที่จำเป็นต้องใช้ในการเก็บรักษาและขนถ่ายสินค้า อาคารสถานที่และสิ่งก่อสร้างเหล่านั้น จำเป็นต้องมีที่ตั้งคือ ผืนที่ดินที่มีเนื้อที่อย่างเพียงพอและอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม นั้นก็คือ ทำเลที่ตั้ง

กลยุทธ์การเลือกทำเลที่ตั้งของคลังสินค้ามี 3 ประเภท ได้แก่

1.กลยุทธ์ทำเลที่ตั้งใกล้ตลาด(Market-positioned Strategy)
กลยุทธ์นี้จะกำหนดให้จัดตั้งคลังสินค้าอยู่ใกล้กับลูกค้าลำดับสุดท้าย(Final customer) ให้มากที่สุดซึ่งจะทำให้สามารถให้บริการลูกค้าได้เป็นอย่างดี ปัจจัยสำคัญในการเลือกทำเลที่ตั้งใกล้ลูกค้ามีหลายประการ เช่น ค่าขนส่ง รอบเวลาในการสั่งสินค้า ความอ่อนไหวของผลิตภัณฑ์ ขนาดในการสั่งซื้อสินค้า ความเพียงพอของพาหนะในพื้นที่และระดับการให้บริการลูกค้าที่ต้องการ
2.กลยุทธ์ทำเลที่ตั้งใกล้แหล่งผลิต(Production-positioned Strategy)
กลยุทธ์นี้กำหนดให้ตั้งคลังสินค้าอยู่ใกล้กับแหล่งวัตถุดิบหรือโรงงานให้มากที่สุด ซึ่งการตั้งคลังสินค้าแบบนี้จะทำให้ระดับการให้บริการลูกค้าต่ำกว่าแบบแรก แต่จะสามารถประหยัดค่าขนส่งวัตถุดิบเข้าสู่โรงงาน ซึ่งการประหยัดการขนส่งสามารถเกิดขึ้นได้ โดยรวบรวมการขนส่งจากแหล่งต่างๆโดยรถประทุก(Truck Load : TL) หรือรถตู้คอนเทนเนอร์(Container Load : CL) ปัจจัยสำคัญในการเลือกทะเลที่ตั้งใกล้แหล่งผลิตประกอบไปด้วย เช่น สภาพของวัตถุดิบเน่าเสียง่ายหรือไม่ จำนวนวัตถุดิบที่เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์
3.กลยุทธ์ทำเลที่ตั้งอยู่ระหว่างกลาง(Intermediately-positioned Strategy)
กลยุทธ์นี้จะกำหนดให้ตั้งคลังสินค้าอยู่ตรงกลางระหว่างแหล่งผลิตและตลาด ซึ่งการตั้งคลังสินค้าประเภทนี้ทำให้ระดับการให้บริการลูกค้าต่ำกว่าแบบแรกแต่จะสูงกว่าแบบที่สอง ทำเลที่ตั้งประเภทนี้เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการให้บริการลูกค้าอยู่ในระดับสูงและมีโรงงานผลิตหลายแห่ง

หน้าที่ของการจัดการคลังสินค้า

หน้าที่ส่วนมากในการจัดการคลังสินค้าที่จะช่วยลดต้นทุนภายใต้ระดับการให้บริการที่ลูกค้าต้องการ มีดังต่อไปนี้

1.การเคลื่อนย้าย(Movement)ประกอบด้วยกิจกรรมย่อยดังนี้
- การรับสินค้า(Receiving)
- การย้ายสินค้าออก(Put away)
- การเลือกหยิบสินค้า(Order picking)
- การส่งสินค้าผ่านคลัง(Cross docking)
- การจัดส่ง(Shipping)
2.การจัดเก็บ(Storage)
- การจัดเก็บชั่วคราว(Temporary storage)
- การจัดเก็บกึ่งถาวร(Semi-permanent storage)
3.การกำหนดงบประมาณ
- การจัดสรรเชิงกลยุทธ์(Strategic decision) เป็นการตัดสินใจในงบประมาณระยะยาว 1-2 ปี เช่น การตัดสินใจงบประมาณในการสร้างคลังสินค้าเองหรือเช่า ทางเลือกใดดีกว่ากัน
- การจัดสรรเชิงปฏิบัติการ(Operational decision) เป็นการตัดสินใจในงบประมาณระยะสั้น รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน เช่น การตัดสินใจเลือกใช้พื้นที่ในคลังให้ได้ประโยชน์สูงสุดหรือตัดสินใจเลือกเส้นทางขนส่งให้ได้ต้นทุนต่ำสุด
4.การกำหนดทำเลที่ตั้ง(Location Planning) : กลยุทธ์ในการเลือกทำเลที่ตั้ง
- กลยุทธ์ทำเลใกล้ตลาด เพื่อให้บริการลูกค้าได้ดีที่สุด ค่าขนส่งถูกรอบเวลาในการส่งถี่ขึ้น
- กลยุทธ์ทำเลใกล้แหล่งผลิต กลยุทธ์นี้ต้องการให้คลังสินค้าใกล้แหล่งวัตถุดิบหรือโรงงานให้มากที่สุดเพื่อประหยัดเวลาและค่าขนส่ง
- กลยุทธ์อยู่ระหว่างสองกิจกรรม เป็นการตั้งคลังสินค้าไว้กึ่งกลางระหว่างตลาดและแหล่งผลิต
5.การกำหนดตลาดและจำนวนคลังสินค้า(Size & quantity of warehouse)
ขนาดของคลังสินค้าและจำนวนของคลังสินค้ามีความสัมพันธ์กันเพราะถ้าธุรกิจของเรามีการสร้างคลังสินค้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆขนาดของคลังสินค้าที่ต้องการโดยเฉลี่ยลดลง
6.การจัดวางผังคลังสินค้า(Warehouse layout)
เป็นกระบวนการในการออกแบบว่าจะจัดเก็บสินค้าไว้ที่ใดในคลังสินค้า
7.การเลือกอุปกรณ์ที่ใช้ในคลังสินค้า
การเลือกอุปกรณ์ที่ใช้ในคลังสินค้าจะพิจารณาจาก ประเภทของธุรกิจ ประเภทสินค้า ข้อมูลทางด้านโลจิสติกส์เพราะในการเลือกอุปกรณ์มีผลต่อการสร้างกำไรทางธุรกิจ
8.การควบคุมการปฏิบัติงาน
ต้องพิจารณากิจกรรมต่างๆอย่างละเอียด เก็บข้อมูลในทางคุณภาพของงานและข้อมูลเชิงปริมาณ ซึ่งจะวัดจากประสิทธิภาพของงานในแต่ละกิจกรรม
9.การโอนข้อมูล(Information Transfer)
การโอนข้อมูลจะเกิดขึ้นไปพร้อมๆกับการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บสินค้า โดยทั่วไปข้อมูลที่ต้องการประกอบด้วย ระดับของสินค้าคงคลัง สถานที่เก็บสินค้าประเภทต่างๆ การรับและการส่งสินค้า ลูกค้า บุคลากร สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ

ประโยชน์ของคลังสินค้า

คลังสินค้านี้สามารถใช้งานได้ทั้งในด้านการเป็นแหล่งอุปสงค์และการกระจายสินค้า ดังนี้

1.คลังสินค้าช่วยสนับสนุนการผลิต(Manufacturing support) โดยคลังสินค้าทำหน้าที่ในการรวบรวมวัตถุดิบในการผลิตชิ้นส่วนและส่วนประกอบต่างๆจากผู้ขายเพื่อส่งป้อนให้กับโรงงานเพื่อผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูป
2.คลังสินค้าเป็นที่ผสมผลิตภัณฑ์(Mixing Warehouse) ในกรณีที่มีการผลิตสินค้าจากโรงงานหลายแห่ง จะทำหน้าที่รวบรวมสินค้าสำเร็จรูปจากโรงงานต่างๆไว้ในที่เดียวกันเพื่อส่งมอบให้ลูกค้าตามต้องการขึ้นอยู่กับลูกค้าแต่ละรายว่าต้องการสินค้าจากโรงงาน
3.คลังสินค้าเป็นที่รวบรวมสินค้า(Consolidation warehouse) ในกรณีที่ลูกค้าต้องการซื้อสินค้าจำนวนมากจากโรงงานหลายแห่ง คลังสินค้าจะช่วยรวบรวมสินคาจากหลายแหล่งซึ่งจัดเป็นการขนส่งขนาดใหญ่หรือทำให่เต็มเที่ยวซึ่งช่วยประหยัดการขนส่ง
4.คลังสินค้าใช้ในการแบ่งแยกสินค้าให้มีขนาดเล็กลง(Break Bulk warehouse) ในกรณีที่การขนส่งจากผู้ผลิตมีหีบห่อหรือพาเลทขนาดใหญ่ คลังสินค้าจะเป็นแหล่งที่ช่วยในการแบ่งแยกสินค้าให้มีขนาดเล็กลงเพื่อส่งมอบให้กับลูกค้ารายย่อย

Warehouse

คลังสินค้า หมายถึง พื้นที่ภายในอาคารซึ่งออกแบบขึ้นเพื่อจุดมุ่งหมายในการเก็บรักษาและสร้างขึ้นโดยให้มีหลังคาและฝาผนังที่สมบูรณ์ทั้งด้านข้างและด้านหัวท้ายของอาคาร

คลังสินค้า หมายถึง เป็นอาคารที่มีโครงสร้างมั่นคงแข็งแรงผนังทำด้วยอิฐหรือคอนกรีตบล๊อกหรือคอนกรีตเสริมเหล็กหรือวัสดุที่มีความมั่นคงแข็งแรง ทนทาน หลังคาต้องมุ่งด้วยกระเบื้องหรือสังกะสีหรือวัสดุที่มีควาทแข็งแรงทนทาน พื้นที่ต้องทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็กสามารถรับน้ำหนักได้ไม่น้อยกว่า 30 เมตริกตันต่อหนึ่งตารางเมตร

คลังสินค้า หมายถึง การรับเก็บรักษาสินค้าหรือให้บริการเกี่ยวกับสินค้านั้น เพื่อผลประโยชน์ทางการค้า ไม่ว่าผลประโยชน์นั้นจะเป็นเงินค่าตอบแทนหรือประโยชน์อื่น

การจัดการคลังสินค้า หมายถึง กระบวนการบูรณาการทรัพยากรต่างๆเพื่อให้การดำเนินกิจการคลังสินค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของคลังสินค้าแต่ละประเภท

Forecasting

ในการจัดการโลจิสติกส์มีความจำเป็นและมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากเลยทีเดียวที่จะต้องใช้ตัวเลขและข้อมูลเชิงปริมาณ มาช่วยในการวางแผนและช่วยในการตัดสินใจดำเนินการทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยเฉพาะอุปสงค์ความต้องการผลิตภัณฑ์ของลูกค้า เพราะความต้องการของลูกค้าเป็นตัวกำหนดของกิจกรรมโลจิสติกส์ทำให้สามารถจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีความเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ตามที่ลูกค้าต้องการ
ประเภทของการพยากรณ์(Forecasting)

1.การพยากรณ์ระยะสั้น เป็นการพยากรณ์ในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน ใช้พยากรณ์แต่ละสินค้าแยกเฉพาะเพื่อใช้ในการบริหารสินค้าคงคลัง การจัดตารางการผลิต สายการประกอบหรือการใช้แรงงานในช่วงเวลาแต่ละสัปดาห์ แต่ละเดือนหรือแต่ละไตรมาสหรือใช้ในการวางแผนระยะสั้น
2.การพยากร์ระยะปานกลาง เป็นการพยากรณ์ในช่วงระยะเวลาเกิน 3 เดือนจนถึง 2 ปี ใช้พยากรณ์ทั้งกลุ่มของสินค้าหรือยอดขายรวมขององค์การ เพื่อใช้ในการวางแผนด้านบุคคล การวางแผนการผลิต การจัดตารางการผลิตรวม การจัดซื้อและการกระจายสินค้า ระยะเวลาที่นิยมพยากรณ์กันมาก ก็คือ 1 ปีเพราะเป็นหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชีพอดี ใช้ในการวางแผนระยะปานกลาง
3.การพยากรณ์ระยะยาว เป็นการพยากรณ์ในช่วงระยะเวลาเกิน 2 ปีขึ้นไป ใช้พยากรณ์ยอดขายรวมขององค์การเพื่อใช้พิจารณาในการตัดสินใจลงทุนในการเลือกทำเลที่ตั้งของโรงงานและสิ่งอำนวยความสะดวก การวางแผนความต้องการกำลังการผลิตและการจัดการกระบวนการผลิตในระยะยาว ใช้ในการวางแผนระยะยาว

กิจกรรมโลจิสติกส์

ในอดีตที่ผ่านมานั้นต้องยอมรับว่าประเทศไทยของเรานั้น ไม่ให้ความสนใจหรือให้ความสำคัญทางด้านโลจิสติกส์และซัพพลายเชนมากนัก จุดนี้เองที่ทำให้ธุรกิจในประเทศไทยของเราสู้ธุรกิจจากกลุ่มประเทศในสหรัฐอเมริกา ประเทศญี่ปุ่น ดังนั้นประเทศไทยของเราต้องมีการพัฒนาทางด้านโลจิสติกส์ให้ดียิ่งขึ้น ให้สามารถต่อสู้กับตลาดต่างประเทศและสามารถที่จะยืนหยัดในการแข่งขันในเวทีระดับโลกได้ ดังนั้นกิจกรรมทางโลจิสติกส์ที่ควรรู้ มีดังนี้
  1. การให้บริการลูกค้า (Customer Service) เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้น เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า ซึ่งกิจกรรมนี้ครอบคลุมตั้งแต่การนำส่งสินค้าที่ถูกต้อง
  2. การขนส่ง (Transportation Management) การจัดให้มีการเคลื่อนย้ายบุคคล สัตว์หรือสิ่งของต่างๆด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์การขนส่ง จากที่แห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่งตามความต้องการ
  3. กระบวนการสั่งซื้อ (Order processing) กระบวนการในการจัดการคำสั่งซื้อ ครอบคลุมตั้งแต่การรับคำสั่งซื้อจากลูกค้า การติดต่อสื่อสารกับลูกค้า การตรวจสอบยอดสินค้าคงคลัง รวมถึงรายละเอียดเกี่ยวกับลูกค้า
  4. การติดต่อสื่อสารด้านโลจิสติกส์ (Logistics Communications) การสื่อสารกับลูกค้าหรือกับผู้ขายเท่านั้นที่องค์กร ได้ให้ความสำคัญ และการสื่อสารระหว่างหน่วยงานภายในองค์กรก็เพื่อให้มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานทางด้านโลจิสติกส์
  5. การบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Management) การบริหารสินค้าคงคลังเป็นกิจกรรมหนึ่งที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของส่วนงานอื่น รวมถึงมีผลต่อกำไรขาดทุนขององค์กร
  6. การพยากรณ์ความต้องการของลูกค้า (Demand forecasting) เป็นการพยากรณ์ความต้องการในตัวสินค้าหรือบริการของลูกค้า
  7. การเคลื่อนย้ายสินค้า (Material Handling ) กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้าย วัตถุดิบ สินค้าระหว่างผลิต และสินค้าสำเร็จรูปภายในโรงงานหรือคลังสินค้า
  8. การจัดซื้อ (Procurement) การจัดซื้อเป็นกิจกรรมในการจัดหาแหล่งวัตถุดิบ เพื่อจัดซื้อสินค้าและวัตถุดิบนั้นๆ รวมไปถึงการบริหารอุปทานโดยรวมตั้งแต่ การคัดเลือกผู้ขาย การเจรจาต่อรองราคาหรือเงื่อนไข ปริมาณในการสั่งซื้อ และการประเมินคุณ ภาพของผู้ขายสินค้าและวัตถุดิบนั้นๆ
  9. บรรจุภัณฑ์ (Packaging) ในด้านโลจิสติกส์ บรรจุภัณฑ์และหีบห่อนั้นมีไว้เพื่อป้องกันตัวสินค้าจากความเสียหาย และอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายและจัดเก็บ
  10. การบริหารคลังสินค้าและการจัดเก็บ (Warehousing และ Storage) กระบวนการในการวางโครงสร้างคลังสินค้า การออกแบบและจัดวาง การจัดการพื้นที่ภายในคลังสินค้า
  11. การเลือกที่ตั้งโรงงานและคลังสินค้า (Plant และ Warehouse Site Selection) กิจกรรรมการเลือกที่ตั้งของโรงงานและคลังสินค้าที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดความสะดวกในการเข้าถึงและระยะทางการการขนส่ง
  12. การจัดเตรียมอะไหล่และชิ้นส่วนต่างๆ (Parts และ Services Support) ส่วนหนึ่งของการบริการหลังการขาย โดยมีการจัดหาชิ้นส่วน อะไหล่ และเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการให้บริการที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพในกรณีที่สินค้าเกิดชำรุด
  13. โลจิสติกส์ย้อนกลับ (Reverse Logistics) กระบวนการจัดการสินค้าที่ถูกส่งกลับคืน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลที่ว่า สินค้าเสียหาย หรือหมดอายุการ

Supply Chain คืออะไร

Supply Chain คืออะไร

ถ้าพูดถึงกระบวนการโลจิสติกส์อย่างหนึ่งที่ควรพูดถึงนั้นก็คือ Supply Chain เพราะกระบวนการโลจิสติกส์ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ Supply Chain ดังนั้นเราควรที่จะมาทำความรู้จักกับ Supply Chain ดูด้วยว่าคืออะไร

Supply Chain คือ กระบวนการที่ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มมากขึ้นของสินค้าและบริการหรือที่เราเรียกกันว่า Value Creation ที่เกิดขึ้นเป็นห่วงโซ่ที่ต่อเนื่องกันไป แต่ละห่วงโซ่ที่ร้อยเรียงกันไว้ จะเริ่มตั้งแต่ปัจจัยการผลิตสินค้าต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ส่งต่อๆกันไปจนถึงมือผู้บริโภคคนสุดท้ายหรือการบริหารจัดการตั้งแต่กระบวนการจัดหาวัตถุดิบเพื่อทำการผลิตสินค้า ป้อนวัตถุดิบเข้าสู่โรงงาน ผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปส่งถึงมือผู้บริโภค ผู้ประกอบการในแต่ละห่วงโซ่อุปทานย่อมที่จะคาดหวังที่จะได้รับผลประโยชน์

โลจิสติกส์ คืออะไร

โลจิสติกส์ คืออะไร

โลจิสติกส์ เข้ามามีบทบาทอย่างมากในปัจจุบันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการผลิตห่วงโซ่อุปทาน เริ่มตั้งแต่กระบวนการสั่งซื้อวัตถุดิบต่างๆหรือที่เรียกว่ากระบวนการตั้งแต่ต้นน้ำนั้นเอง กระบวนการในการแปรรูปวัตถุดิบ กระบวนการในการผลิตสินค้าและบริการ การบรรจุหีบห่อส่งต่อไปขายยังตลาดต่างๆ รวมไปถึงการจัดส่งสินค้าและบริการให้กับผู้บริโภค ดังนั้นเราควรที่จะมาทำความรู้จักกับความหมายของโลจิสติกส์

โลจิสติกส์ คือ กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการวางแผน การดำเนินการและการควบคุมการทำงานของธุรกิจ การบริหารจัดการข้อมูล เพื่อที่จะทำให้เกิดการเคลื่อนย้าย การจัดเก็บ การรวบรวม การกระจายสินค้า ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยที่จะต้องคำนึงถึงความต้องการและความพึงพอใจของผู้บริโภคเป็นสำคัญ

โลจิสติกส์ คือ เป็นการไหลของวัตถุ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเลือกวิธีการขนส่ง การเคลื่อนย้ายสินค้า การจัดเก็บ การกระจายสินค้า สินค้าคงคลัง บรรจุภัณฑ์และกิจกรรมอื่นๆ

ความเป็นมาโลจิสติกส์

ความเป็นมาของโลจิสติกส์
การจัดการโลจิสติกส์จัดได้ว่าเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากในธุรกิจต่างๆ ณ ปัจจุบัน หลายๆธุรกิจพุ่งเป้าไปที่การลดต้นทุนทางด้านนี้เป็นหลักไม่เว้นแม้กระทั่งธุรกิจในสหรัฐอเมริกาหรือแม้กระทั่งประเทศญี่ปุ่นเองก็ตามรวมทั้งประเทศที่พัฒนาแล้วอีกหลายๆประเทศดังนั้นผู้ที่สนใจในเรื่องโลจิสติกส์ลองมาดูสิว่าความเป็นมาของโลจิสติกส์เป็นอย่างไร
ช่วงค.ศ.(1950 – 1964)
เริ่มมีการใช้ในกิจกรรมทางทหาร ในยุคนี้เป็นยุคของการผลิตสินค้าเป็นหลัก ทั้งฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายขนส่ง ต้นทุนในกระบวนการกระจายสินค้าสูง ในช่วงปลายค.ศ.1964 เริ่มมีการประสานงานในกระบวนการกระจายสินค้าแต่ยังขาดผู้รับผิดชอบด้านคลังสินค้าและเริ่มหาทางเลือกในกิจกรรมโลจิสติกส์มากขึ้น
ช่วงค.ศ.(1965 – 1979)
ลูกค้าเริ่มมีความต้องการบริการสูงขึ้น เริ่มมองทั้งในแง่ปริมาณและคุณภาพในการให้บริการ ในยุคนี้เริ่มพิจารณาเรื่องกำไร การลดต้นทุน ผลตอบแทนของการลงทุน โดยมุ่งให้ความสนใจต่อการลงทุนในสินทรัพย์และการจัดการมากขึ้น
ช่วงค.ศ.(1980 – 1990)
ยุคนี้เริ่มที่จะมีการขยายธุรกิจเป็นแบบธุรกิจข้ามชาติมากขึ้น โลจิสติกส์ต้องใช้พลังงานในการเคลื่อนย้าย เริ่มมีระบบสหภาพแรงงาน พนักงานมีการเจรจาต่อรองอย่างรุนแรง ยุคนี้ผู้บริหารเริ่มมองเรื่องการจัดการซัพพลายเชนมากขึ้น แต่ปัญหาในยุคนี้ คือ ไม่มีใครสามารถมองภาพของความต้องการสินค้าของลูกค้า รวมถึงระดับสินค้าคงคลังตลอดซัพพลายเชนได้ชัดเจน
ช่วงค.ศ.(1990 – จนถึงปัจจุบัน)
ยุคนี้เริ่มมีการนำเอาระบบสารสนเทศเข้ามาเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างองค์กร เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลจากหลายฝ่ายที่นำเข้ามารวมกัน โดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ลดความผิดพลาดในด้านข้อมูลนำเข้าเพราะมีการนำเข้าข้อมูลครั้งเดียว ลดความซ้ำซ้อนของงาน ทำให้มีการไหลของสารสนเทศเร็วขึ้น ลดระยะเวลาในแต่ละกิจกรรม

คำศัพท์โลจิสติกส์

คำศัพท์ทางโลจิสติกส์

ปัจจุบันอุตสาหกรรมของประเทศไทยนับว่าเป็นฐานการผลิตที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก เนื่องจากปัจจัยเกื้อหนุนหลายด้านทั้งด้านแรงงานและทรัพยากร ทำให้บริษัทผู้ผลิตขนาดใหญ่ รวมทั้งบริษัทข้ามชาติมีการลงทุนในประเทศไทย ก่อให้เกิดอุตสาหกรรมสนับสนุน ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ส่งมอบ (supplier) ในการผลิตชิ้นส่วน หรือส่วนประกอบส่งให้บริษัทเหล่านั้น อุตสาหกรรมขนาดกลางและเล็กของไทย (SME) จึงเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
ดังนั้นสำหรับผู้ที่สนใจทางด้านโลจิสติกส์ควนทำการศึกษากระบวนการทางด้านโลจิสติกส์ให้เกิดความเข้าใจที่แท้จริง รวมถึงควรมีความรู้ทางด้านคำศัพท์ต่างๆหรือคำย่อต่างๆที่เกี่ยวข้องกับทางด้านโลจิสติกส์เป็นอย่างดี เนื่องจากกิจกรรมทางด้านโลจิสติกส์มีคำย่อและคำเรียกเฉพาะอย่างมากมาย เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจเรื่องโลจิสติกส์จึงมีคำศัพท์และคำย่อที่น่าสนใจและพบบ่อยในการจัดการโลจิสติกส์มาแนะนำ ดังนี้
1.3PL Third-Party Logistics โลจิสติกส์โดยการผ่านบุคคลที่ 3
2.4PL Fourth-Party Logistics โลจิสติกส์โดยการผ่านบุคคลที่ 4
3.ABC Activity-Based Costing การคิดต้นทุนตามฐานกิจกรรม
4.ASEAN Association of South East Asian Nations กลุ่มประเทศอาเซียน
5.ASN Advance Shipping Notice การแจ้งเตือนการขนส่งล่วงหน้า
6.AS Automated Storage ระบบจัดเก็บ
7.B2B Business to Business การค้าแบบบริษัทต่อบริษัท
8.B2C Business to Consumer การค้าแบบบริษัทต่อผู้บริโภค
9.CB Truck Counterbalanced Fork-lift Truck รถยกแบบมีน้ำหนักถ่วง
10.CCTV Closed Circuit Television โทรทัศน์วงจรปิด
11.CDC Central Distribution Center ศูนย์กระจายสินค้าส่วนกลาง
12.CM Category Management การจัดการหมวดหมู่สินค้า
13.CRM Customer Relationship Management การจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า
14.CRP Continuous Replenishment Program การเติมสินค้าอย่างต่อเนื่อง
15.DC Distribution Center ศูนย์กระจายสินค้า
16.DCM Demand Chain Management การจัดการโซ่อุปสงค์
17.DFT Department for Transport กระทรวงคมนาคม
18.DRP Distribution Requirements Planning การวางแผนความต้องการในการกระจายสินค้า
19.EDI Electronic Data Interchange การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์
20.FTA Free Trade Area เขตการค้าเสรี
21.FCL Full Container Load ปริมาณเต็มตู้คอนเทนเนอร์
22.FG Finished Goods สินค้าสำเร็จรูป
23.FIFO First In First Out เข้าก่อน ออกก่อน
24.FILO First In Last Out เข้าก่อน ออกหลัง
25.FLT Forklift รถยกฟอร์คลิฟต์
26.FTL Full Truck Load สินค้าเต็มคันรถ
27.GPS Global Positioning System ระบบระบุตำแหน่งบนผิวโลก
28.JIT Just-in-time ระบบทันเวลาพอดี
29.KPI Key Performance Indicator ดัชนีชี้วัดสมรรถนะหลัก
30.LIFO Last In First Out เข้าสุดท้าย ออกก่อน
31.MRP Materials Requirement Planning การวางแผนความต้องการวัตถุดิบ
32.MRP II Manufacturing Resource Planning การวางแผนทรัพยากรการผลิต
33.PPT Powered Pallet Truck รถยกพาเลทไฟฟ้า
34.QA Quality Assurance การประกันคุณภาพ
35.QC Quality Control การควบคุมคุณภาพ
36.RFID Radio Frequency Identification การระบุลักษณะด้วยคลื่นความถี่วิทยุ
37.SC Supply Chain โซ่อุปทาน
38.SCM Supply Chain Management การจัดการโซ่อุปทาน
39.VMI Vendor-managed Inventory สินค้าคงคลังที่จัดการโดยผู้ขาย
40.WIP Work-in-progress งานระหว่างกระบวนการ
41.WMS Warehouse Management System ระบบจัดการคลังสินค้า
42.Consignment สินค้าหนึ่งรายการหรือมากกว่าที่ผู้ขนส่งได้รับดำเนินการจัดส่งภายในระยะเวลาที่กำหนด
43.Inventory รายการบัญชีสินค้า รายการวัตถุดิบ ส่วนประกอบ งานที่กำลังดำเนินการ สินค้าสำเร็จรูป หรือทรัพยากรอื่น ๆ
44.Pick-and-pack การบรรจุหีบห่อตามใบสั่ง กระบวนการเลือกรายการสินค้าตามใบสั่งของลูกค้าและบรรจุหีบห่อเพื่อดำเนินการขนส่งต่อไป
45.Vendors ผู้ค้า ผู้ค้าสินค้าและบริการ
46.Bonded warehouse จุดหรือศูนย์รวบรวมสินค้าที่ได้รับมอบหมายจากศุลกากรให้จัดเก็บสินค้า การชำระค่าธรรมเนียมและภาษีของ สินค้าเหล่านี้จะทำได้ก็ต่อเมื่อสินค้าดังกล่าวได้รับการขนย้ายจากคลังแล้วเท่านั้น
47.Consolidation การรวบรวมสินค้าตั้งแต่สองรายการขึ้นไปเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง
48.Container ตู้โลหะขนาดใหญ่ที่ปิดมิดชิด และสามารถนำไปใช้ใหม่ได้ ใช้เพื่อการขนส่งสินค้าทางทะเลและทางรถไฟ
49.Cross-dock/docking การขนส่งสินค้าโดยตรงจากจุดที่รับสินค้าไปยังจุดจัดส่งสินค้า โดยข้ามคลังจัดเก็บสินค้าไป
50.Inbound logistics กระบวนการขนส่งวัตถุดิบและส่วนประกอบจากซัพพลายเออร์หรือผู้ค้าไปยังฐานการผลิตและคลังจัดเก็บ
51.Outbound logistics โลจิสติกส์สินค้าขาออก
52.Outsourcing การว่าจ้างบริษัทภายนอกให้รับเหมาดำเนินงาน
53.Reverse logistics กระบวนการรับสินค้า บริหารจัดการ และขนส่งสินค้าคืนไปยังแหล่งต้นทาง