วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

เทคนิคการพยากรณ์(forecasting technique)

การพยากรณ์มีเทคนิคแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
  1. การพยากรณ์แบบไร้หลักการ (Informal forecasting technique) ใช้การคาดเดาในการพยากรณ์
  2. การพยากรณ์แบบมีหลักการ (Formal forecasting technique)

2.1 การพยากรณ์เชิงคุณภาพ (Qualitative forecasting)
การพยากรณ์เชิงคุณภาพจะไม่ใช้ข้อมูลในอดีต แต่จะได้จากการสอบถามฝ่ายบริหาร (Executive opinions), ความเห็นจากพนักงานขาย (Sales staff opinions), การสำรวจลูกค้า (Customer survey), หรือ ความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ (Expert opinions) ซึ่งวิธีการเพื่อให้ได้ความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญนิยมใช้วิธีเดลไฟ (Delphi Method) พัฒนาโดย The Rand Corp. ในปี 1948 โดย คัดเลือกผู้เชี่ยวชาญ ส่งแบบสอบถาม รวบรวมผลลัพธ์และส่งผลกลับไปหาผู้เชี่ยวชาญ รวบรวมผลลัพธ์ใหม่เพื่อแก้ไขผลพยากรณ์ ส่งผลลัพธ์กลับไปหาผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะทำอย่างนี้ประมาณ 3 รอบหากมีมติที่ไม่เป็นเอกฉันท์ วิธีนี้เหมาะสำหรับการพยากรณ์เทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ในองค์กร
2.2 การพยากรณ์เชิงปริมาณ (Quantitative forecasting)
2.2.1 การพยากรณ์แบบอนุกรมเวลา (Time series forecasting)
- การพยากรณ์แบบนาอีฟ (Naïve) คือใช้ค่าจริงที่เกิดขึ้นจากคาบเวลาที่แล้วมาเป็นค่าพยากรณ์ Ft = At-1เช่น เดือนที่แล้ว ขายได้ 1000 ชิ้น เดือนนี้น่าจะขายได้ 1000 ชิ้นเช่นกัน
- การพยากรณ์แบบค่าเฉลี่ยปรับเรียบอย่างง่าย(Simple Smoothing Average)
- การพยากรณ์แบบค่าเฉลี่ยปรับเรียบแบบถ่วงน้ำหนัก(Weighted Smoothing Average)
- การพยากรณ์แบบปรับเรียบแบบเอ็กซ์โปเน็นเชี่ยล(Exponential Smoothing)
- การพยากรณ์แบบกำลังสองน้อยที่สุดเชิงเส้น(Linear Least Square)
- การพยากรณ์แบบกำลังสองน้อยที่สุดแบบเอ็กซ์โปเน็นเชี่ยล(Exponential Least Square)
2.2.2การพยากรณ์เชิงสหสัมพันธ์ (Correlative forecasting)
- การวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น