ในการจัดการโลจิสติกส์มีความจำเป็นและมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากเลยทีเดียวที่จะต้องใช้ตัวเลขและข้อมูลเชิงปริมาณ มาช่วยในการวางแผนและช่วยในการตัดสินใจดำเนินการทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยเฉพาะอุปสงค์ความต้องการผลิตภัณฑ์ของลูกค้า เพราะความต้องการของลูกค้าเป็นตัวกำหนดของกิจกรรมโลจิสติกส์ทำให้สามารถจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีความเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ตามที่ลูกค้าต้องการ
ประเภทของการพยากรณ์(Forecasting)
1.การพยากรณ์ระยะสั้น เป็นการพยากรณ์ในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน ใช้พยากรณ์แต่ละสินค้าแยกเฉพาะเพื่อใช้ในการบริหารสินค้าคงคลัง การจัดตารางการผลิต สายการประกอบหรือการใช้แรงงานในช่วงเวลาแต่ละสัปดาห์ แต่ละเดือนหรือแต่ละไตรมาสหรือใช้ในการวางแผนระยะสั้น
2.การพยากร์ระยะปานกลาง เป็นการพยากรณ์ในช่วงระยะเวลาเกิน 3 เดือนจนถึง 2 ปี ใช้พยากรณ์ทั้งกลุ่มของสินค้าหรือยอดขายรวมขององค์การ เพื่อใช้ในการวางแผนด้านบุคคล การวางแผนการผลิต การจัดตารางการผลิตรวม การจัดซื้อและการกระจายสินค้า ระยะเวลาที่นิยมพยากรณ์กันมาก ก็คือ 1 ปีเพราะเป็นหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชีพอดี ใช้ในการวางแผนระยะปานกลาง
3.การพยากรณ์ระยะยาว เป็นการพยากรณ์ในช่วงระยะเวลาเกิน 2 ปีขึ้นไป ใช้พยากรณ์ยอดขายรวมขององค์การเพื่อใช้พิจารณาในการตัดสินใจลงทุนในการเลือกทำเลที่ตั้งของโรงงานและสิ่งอำนวยความสะดวก การวางแผนความต้องการกำลังการผลิตและการจัดการกระบวนการผลิตในระยะยาว ใช้ในการวางแผนระยะยาว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น